Use this space to put some text. Update this text in HTML

Supawich L.. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทความที่ได้รับความนิยม

ระบบบัสของซีพียู(CPU)

ระบบบัสของอุปกรณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ระบบบัสที่ผู้ใช้คุ้นเคยอย่างเช่น บัส PCI, บัส AGP และพัฒนาต่อมาจนเป็นบัส PCI Express และ PCI Express 2.0 ในปัจจุบัน ระบบบัสของซีพียูก็เช่นกัน เมื่อถึงจุดหนึ่งผู้ผลิตซีพียูอย่าง InteI และ AMD จึงพัฒนาบัสของซีพียูให้รองรับการทำงานที่เร็วขึ้นของซีพียูอย่างเหมาะสม  

ระบบบัส FSB

ระบบบัส FSB (Front Side Bus) เป็นบัสพื้นฐานของซีพียูที่ใช้งานกันมานาน ลักษณะของบัส FSB ตัวซีพียูจะเชื่อมต่อกับชิปเซต North Bridge ตามปกติ ความเร็วของบัส FSB จะขึ้นอยู่กับความกว้างของบัส (มีหน่วยเป็นบิต) และความถี่ของบัส (มีหน่วยเป็น MHz หรือ GHz) ระบบบัส FSB เริ่มต้นที่ความถี่ 33 MHz มีความกว้างบัส 32 บิตตั้งแต่สมัยซีพียู Pentium รุ่นแรก
ปัจจุบัน InteI ได้นำเทคโนโลยีของบัส FSB มาเพิ่มความเร็วและพัฒนาเป็นระบบบัส QDP (Quad Data Pump) ซึ่งสามารถดึงข้อมูลได้ครั้งละ 4 ชุดใน 1 Hz ดังนั้น บัส FSB พื้นฐานที่ 100 MHz จึงเทียบเท่าที่ 400 MHz ในซีพียู Pentium 4 รุ่นแรก ต่อมาก็เพิ่มความเร็วของบัส FSB จนถึงปัจจุบันที่มากกว่า 200 MHz ดังนั้น จึงมีความเร็วบัสเทียบเท่า 800 MHz (4x 200 MHz) สำหรับบัส 1,066 MHz (1.06 GHz) ก็จะหมายถึง 4x 266 MHz และบัส 1,333 MHz (1.33 GHz) จะหมายถึง 4x 333 MHz

ระบบบัส QuickPath

ระบบบัสที่พัฒนาขึ้นโดย InteI เพื่อใช้งานกับซีพียูตระกูล Core i7 และ Core i9 ซึ่งซีพียูทั้ง 2 ตระกูลจะมีวงจรควบคุมแรมในตัวซีพียู ดังนั้น การออกแบบระบบบัสจึงแตกต่างจากบัส FSB เดิมทั้งยังต้องมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รับ/ส่งกับวงจรควบคุมแรมในตัวซีพียู ทาง InteI จึงออกแบบระบบบัสใหม่ขึ้นมามีชื่อเรียกว่า InteI QuickPath Interconnect (QPI)
ระบบบัส QuickPath มีลักษณะคล้ายกับบัส HyperTransport คือ เชื่อมต่อกันในแบบ Point-to-Point ระบบบัส QuickPath มีความกว้างบัสขนาด 16 บิตที่ความถี่ระดับ 2.4 GHz และ 3.33 GHz (Core i7 Extreme) ส่งผลให้อัตราการรับ/ส่งข้อมูลอยู่ที่ 4.8 GT/s หรือ 19.2 GB/s ในซีพียู Core i7 ส่วนซีพียู Core i7 Extreme และ Core i9 มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 6.4 GT/s หรือ 25.6 GB/s
เข้าใจบัส DMI ของซีพียู InteI Core i
บัส DMI (Direct Media Interface) ที่ใช้งานกับซีพียูของ InteI Core i (ยกเว้นซ็อกเก็ต LGA1366) นั้นไม่ใช่ระับบบัสใหม่ เพราะบัส DMI เดิมทาง InteI ได้ใช้เป็นบัสสำหรับเชื่อมต่อชิปเซต North Bridge กับ South Bridge เข้าด้วยกันโดยมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 2-4 GB/s ด้วยการออกแบบซีพียูตระกูล Core i ให้มีวงจรของบัส PCI Express x16 ในตัวจึงออกแบบการเชื่อมต่อกับชิปเซต InteI ให้เหมือนเป็นเพียงชิปเซต South Bridge และตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า PCH (PIatform ControIIer Hub)

ระบบบัส HyperTransport 
  
บัส HyperTransport (นิยมย่อว่า HTT) ของ AMD มีการออกแบบที่แตกต่างจากบัสแบบเดิมๆ การเชื่อมต่อของบัส HyperTransport มีลักษณะแบบ Point-to-Point คืออุปกรณ์แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันคล้ายกับการเสียบปลั๊กไฟ ดังนั้น ประสิทธิภาพของบัส HyperTransport จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าบัส Front Side Bus (FSB) เดิมที่นิยมใช้กัน
ปกติบัสของซีพียูจะมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 64 บิต แต่บัส HyperTransport สามารถปรับความกว้างของการรับส่ง/ส่งข้อมูลได้ 8, 16 หรือ 32 บิต ตามการออกแบบของผู้ใช้งาน บัส Hyper Transport ทำงานแบบสัญญาณขาขึ้น/ขาลงเหมือนแรม DDR และใช้หน่วยวัด MT/s (Million Transport per Second) บัส HyperTransport รุ่นแรกมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลสูงสุดที่ 2000 MT/s ล่าสุดกับบัส HyperTransport 3.0 มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 41.6 GB/s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ads by nuffnang