Use this space to put some text. Update this text in HTML

Supawich L.. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทความที่ได้รับความนิยม

ปัญหาเสียงไม่ออก คอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง

ปัญหาเสียงไม่ออกหรือคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียงนั้น เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหานี้ถ้าหาใครที่ลงวินโดว์ใหม่แล้วพบว่าคอมพิวเตอร์ของเราไม่มีเสียง เราจะมีวิธีแก้ไขยังไงให้คอมพิวเตอร์ของเรากลับมาใช้งานได้ปกติ

ปัญหาเสียงไม่ออก หรือคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง หลักๆนั้นเกิดจากการติดตั้งไดรเวอร์เสียง ที่ช่วยให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ วิธีการตรวจสอบว่าเราได้ติดตั้งไดร์เวอร์เสียงหรือไม่ ทำได้ดังนี้

  1. กดที่่เมนู Start
  2. เลือกเมนู Control Panel
  3. ค้นหาไอคอนที่ชื่อว่า System
  4. เมื่อดับเบิลคลิกไอคอม System แล้วให้เราค้นหาเมนูที่ชื่อว่า Device Manager
  5. ทำการตรวจสอบว่าเราติดตั้งไดรเวอร์เสียงแล้วหรือยังให้คลิกที่ Sound ,video and game controller ถ้าหากพบว่ามีไอคอนบางตัวมีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองให้เราทำการติดตั้งไดรเวอร์เสียงทันที
  6. เพื่อที่จะติดตั้งไดรเวอร์เสียงได้นั้น ต้องทราบรุ่นของเมนบอร์ดก่อนว่าเป็นยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร ซึ่งสังเกตได้จากตอนเปิดเครื่องหรือดาวน์โหลดโปรแกรม cpu-z เพื่อใช้ตรวจสอบสเปคของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอีกวิธีหนึ่งคือเปิดดูที่แผงเมนบอร์ดก็ได้เช่นกัน
  7. เมื่อทราบรุ่นเมนบอร์ดแล้วให้เราทำการโหลดไดรเวอร์เสียงของเมนบอร์ดรุ่นหรือยี่ห้อนั้นๆมาติดตั้งก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เรากลับมามีเสียงและใช้ได้ตามปกติ

อยู่ๆคอมพิวเตอร์ก็ดับ หาสาเหตุไปพร้อมกัน

ปัญหาคอมพิวเตอร์ดับ โดยไม่ทราบสาเหตุ หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าเกิดจากอะไร ทำไมคอมพิวเตอร์เราถึงดับไป ซึ่งแน่นอนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เสียหายหรือแหล่งจ่ายไฟไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เพียงพอ รวมทั้งอุณหภูมิของซีพียูที่สูงเกิดไปจนเมนบอร์ดสั่งตัดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีตรวจสอบอุณหภูมินั้นสามารถดูได้จากไบออสหรือใช้โปรแกรมที่แถมมากับเมนบอร์ด ค่าอุณหภูมิของทั้ง 2 แบบ อาจจะไม่เท่ากัน เพราะไบออสจะตรวจสอบค่าความร้อนของซีพียูแบบเรียวไทม์ ส่วนโปรแกรมจะตรวจสอบที่สภาพแวดล้อมขณะรันวินโดว์

วิธีการดูอุณหภูมิจากไบออสของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายๆ เพียงสั่งรีสตาร์ทเครื่องใหม่แล้วกดปุ่ม <Del> หรือปุ่มอื่นตามไบออสของแต่ละเครื่อง เมื่อเราเข้าถึงไบออสได้แล้วให้หาเมนูที่เกี่ยวกับ Hardware Monitor ให้กด <Enter> แล้วจะเห็นค่าของอุณหภูมิซีพียูภายในเคส

แนวทางการตรวจสอบอุณหภูมิของไบออสยี่ห้อต่างๆ  
  • BIOS AMI เมนู Hardware Monitor หรือ H/W Monitor
  • BIOS Award Medallion เมนู Power > Hardware Monitor
  • BIOS Award Modular เมนู PC Health Status
ส่วนการดูอุณภูมิจากโปรแกรมก็ไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแค่ท่านตรวจสอบคู่มือหรือโปรแกรมที่แถมมากับเมนบอร์ด ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีความแตกต่างกันออกไป และอีกโปรแกรมหนึ่งก็คือ โปรแกรม Hardware Monitor ที่สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและแรงดันไฟฟ้า อุณหภูมิของการ์ดแสดงผลและฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมจะอ่านค่าโดยตรงจากไบออส หรือทำงานร่วมกับไดรเวอร์ของอุปกรณ์นั้นๆ 

>>>ดาวน์โหลด<<<

เสียงปี๊บของ BIOS

เสียงปี๊บจาก BIOS นั้น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการแจ้งปัญหาโดยผ่านทางเสียง "ปี๊บ" ของลำโพงขนาดเล็กภายในเคส ถ้าหากคุณได้ยินเสียง "ปี๊บ" และเข้าใจว่าเสียงว่าเกิดปัญหาที่ส่วนใดของตัวเครื่อง ก็สามารถจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่ง BIOS ยี่ห้อต่างๆ ก็จะมีลักษณะของเสียงเตือนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ยี่ห้อของไบออสที่ตนเองใช้อยู่จึงจะสามารถวิเคราะห์ปัญหานั้นได้

วิเคราะห์เสียง "ปี๊บ" ของ BIOS ยี่ห้อต่างๆ 

BIOS AMI
  • จำนวนเสียง 1 ครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานปกติ
  • จำนวนเสียง 4 ครั้ง ตัวนับเวลาทำงานผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 5 ครั้ง ซีพียูทำงานผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 6 ครั้ง ตัวควบคุม Gate A20 ของคีย์บอร์ดผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 8 ครั้ง หน่วยความจำของการ์ดแสดงผลทำงานผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 9 ครั้ง ข้อมูลในไบออสไม่ถูกต้อง
  • จำนวนเสียง 11 ครั้ง หน่วยความจำแคชทำงานผิดพลาด
BIOS Award
  • สั้น 1 ครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานปกติ
  • สั้น 2 ครั้ง ข้อมูลในไบออสทำงานไม่ถูกต้อง
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 1 ครั้ง แรมหรือเมนบอร์ดทำงานผิดพลาด
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 2 ครั้ง การ์ดแสดงผลหรือมอนิเตอร์ทำงานผิดพลาด
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง คีย์บอร์ดทำงานผิดพลาด
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 9 ครั้ง ตัวไบออสทำงานผิดพลาด
  • สั้นต่อเนื่องตลอด เกิดปัญหาที่แรงดันไฟฟ้า
  • ยาวต่อเนื่องตลอด เกิดปัญหาที่หน่วยความจำ

การกำหนดค่าของไบออส(BIOS)

การกำหนดค่าปกติ (Defaul Setting) ก็คือการรีเซ็ต (Reset) ให้ไบออสกลับไปใช้ค่าปกติที่ตั้งมาจากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ด ซึ่งค่าปกติเป็นค่าที่เชื่อถือหรือมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าจะสามารถทำงานได้กับอุปกรณ์ทุกตัวอย่างไม่มีปัญหา นอกจากนี้การกำหนดค่าปกติยังจำเป็นสำหรับผู้ที่นิยมการโอเวอร์คล็อก (Overclock) เพราะผู้ใช้อาจจะปรับค่าที่สูงเกิดกว่าที่อุปกรณ์จะทำงานได้ปกติ

การตั้งค่าของไบออสยี่ห้อต่างๆ
  • ไบออส AMI     -เมนู Load fail Safe Defaults >OK
  • ไบออส Award Medallion   -เมนู Exit >Load Setup Default >Y
  • ไบออส Award Modular   -เมนู Load Fail-Safe Defaults

ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์บูตไม่ขึ้น



ปัญหาคอมพิวเตอร์บูตไม่ขึ้นนั้น มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเกิดปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าไบออกผิดพลาด การโอเวอร์คล็อกซีพียู เป็นต้น ดังนั้นเราจึงมีวิธีแก้ไขการตั้งค่าไบออสให้กลับมาเป็นปกติได้วิธีเดียวนั่นก็คือ วิธีการลบข้อมูลการตั้งค่าในไบออส ง่ายๆ เพียงแค่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และถอดปลั๊กให้เรียบร้อย จากนั้นเปิดฝาเคสออกมา หาตำแหน่งของถ่านไฟเลี้ยงไบออส ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมแบนๆ คล้ายกับถ่านนาฬิกาที่เราเคยเห็น ถอดถ่านนั้นออกมาทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วินาที จากนั้นใส่ถ่านกลับเข้าไปที่เดิม และทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราตามปกติ ค่าต่างๆ ที่กำหนดไว้จะถูกลบออกไป ซึ่งจะต้องตั้งค่าวันเวลาและข้อมูลใหม่ทั้งหมด

OpenCL พลังแห่งชิปกราฟิก

GPGPU (General-Purpose computing on Graphic Processor Unit) เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีอยู่ใน nVidia GeForce 8 (ติดตั้งซอฟแวร์ PhysX) และ ATi Radeon HD4000 (ติดตั้งไดรเวอร์รุ่น 9.2) ขึ้นไป
เป็นการปฏิวัติวงการชิปการฟิกเพราะเมื่อก่อนนั้นเราจะนิยมใช้งานกับเกมและโปรแกรมด้าน 3 มิติ เท่านั้น

GPGPU เป็นการนำชิปกราฟิกมาใช้กับโปรแกรมทั่วไป โดยเฉพาะโปรแกรมด้านมัลติมีเดียและการตัดต่อวีดีโอ GPGPU จะนำชิปซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าซีพียูมาช่วยประมวลผล ทำให้ไม่ได้รับความนิยมการเล่นเกมสามารถใช้ประโยชน์จากชิปกราฟิกได้มากขึ้น การเลือกซื้อชิปกราฟิกรุ่นสูงๆมาใช้นั้นมีประโยชน์มากกว่าการเล่นเกม

OpenCL (Open Computing Language) มาตรฐานชุดคำสั่ง APls สากลเช่นเดียวกับ OpenGL (Open Graphic Library) และ OpenAL (Open Audio Library) ต่างกันตรงที่ OpenGL จะออกแบบมาเฉพาะด้านกราฟิก ในขณะที่ OpenAL ออกแบบมาเฉพาะระบบเสียง OpenCL จะนำเทคโนโลยี GPGPU มาใช้ประโยชน์ โดยมี Windows 7 และ Mac OS X 10.6 (Snow Leopard) สามารถนำ OpenCL ไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

PhysX คืออะไร

PhysX คือ เทคโนโลยีการทำงานของการ์ดประมวลผลทางด้วยฟิสิก์(Physic Card) เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลด้านพื้นผิวและการเคลื่อนไหวของวัตถุโดยเฉพาะ ชิปฟิสิกส์ไม่ได้ช่วยให้การ์ดแสดงผลทำงานได้เร็วขึ้นแต่จะช่วยในเรื่องของความสวยงานและความสมจริงของภาพและวัตถุต่างๆ แนวคิดนี้เกิดจาก Ageia ได้วางจำหน่ายการ์ดฟิสิกส์ทั้งแบบสล็อต PCI และ PCI Express x1 เพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผล(การ์ดจอ)


ปัญหาสำคัญของการ์ดฟิสิกส์จาก Ageia คือ ราคาที่แพงมาก ผู้ใช้บางส่วนอาจจะไม่นิยมที่จะซื้อมาใช้ nVidia จึงซื้อกิจการของ Ageia และพัฒนาการประมวลผลด้านฟิสิกส์จากชิปฟิสิกส์มาเป็นซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกันกับชิปกราฟิกของ nVidia โดยชุดพัฒนาที่มีชื่อว่า CUDA (Compute Unified Device Architecture) ซึ่งรองรับชิปกราฟิกตั้งแต่ GeForce 8  ขึ้นไป

nVidia เรียกชื่อชุดประมวลผลกราฟิกด้วยชุดคำสั่ง CUDA ว่า nVidia PhysX ซึ่งผู้ที่ใช้การ์ดแสดงผล GeForce 8 ขึ้นไปสามารถดาวน์โหลดไดรเวอร์ ForceWare และไดรเวอร์ PhysX รุ่นใหม่มาติดตั้ดเพื่อรองรับการประมวลผลทางได้ฟิสิกส์ได้ทันที

และในขณะเดียวกัน AMD ก็ได้ร่วมมือกับ Havox พัฒนาซอฟแวร์ด้านการเคลื่อนไหวและฟิสิกส์สำหรับเกมและภาพยนต์ โดยทำงานคล้ายกันกับ nVidia PhysX คือเมื่อติดตั้งไดรเวอร์ด้านฟิสิกส์เพื่ทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลตระกูล Redeon HD4000 ลงไปก็สามารถทำงานได้ทันที

หน่วยความจำของการ์ดแสดงผล



การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่เราเรียกติดปากกันนั้น มีส่วนหนึ่งที่เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลก็คือ ความเร็วของหน่วยความจำ (RAM) บนการ์ดแสดงผล เพราะชิปกราฟิกจะต้องติดต่อกับหน่วยความจำตลอดเวลา และการประมวลผลกราฟิกต่างๆ นั้นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ดังนั้น การ์ดแสดงผลที่มีแรมจำนวนมาก และทำงานได้รวดเร็วจะส่งผลการ์ดแสดงผลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประเภทของหน่วยความจำที่นิยมมาใช้กับการ์ดแสดงผล

  • RAM DDR2  -ทำงานเช่นเดียวกับแรม DDR 2 ของคอมพิวเตอร์
  • RAM GDDR2 -เป็นแรมที่ออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผล
  • RAM GDDR3 -แรม DDR3 สำหรับการ์ดแสดงผลรองรับความเร็วที่ 1 GHz ขึ้นไป
  • RAM GDDR4 -แรม DDR4 สำหรับการ์ดแสดงผลรองรับความเร็วที่ 1.5 GHz ขึ้นไป
  • RAM GDDR5 -แรม DDR5 สำหรับการ์ดแสดงผลรองรับความเร็วที่ 2 GHz ขึ้นไป

การ์ดแสดงผลกับ Windows 7


การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอที่จะสามารถทำงานร่วมกันกับระบบปฏิบัติการ Windows 7  ซึ่งการแสดงผลของระบบปฏิบัติการนั้นจะเต็มไปด้วยภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต้องการประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลในระดับหนึ่ง ชิปกราฟิกที่ทำงานร่วมกับ Windows Vista ก็สามารถทำงานร่วมกับ Windows 7 ได้ โดยเฉพาะชิปกราฟิกในระดับกลางอย่าง AMD Redeon HD3650 หรือ nVidia Geforce 9600 ขึ้นไป ส่วนชิปกราฟิคของทาง Intel ควรเป็นรุ่น GMA X4500 ขึ้นไปเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

Turbo Cache

Logo Turbocache 

เนื่องจากเทคโนโลยีของ PCI Express x16 ซึ่งมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูล 8-16 GB/s ทำให้ผู้ผลิตชิปกราฟิกมองเห็นถึงจุดเด่นข้อนี้ โดยออกแบบชิปกราฟิกรุ่นคุ้มค่าให้ดึงหน่อยความจำหลักของเครื่องมาใช้งานแทนหน่วยความจำบนตัวการ์ดแสดงผล เทคโนโลยีนี้ทาง nVidia เรียกว่า Turbo Cache ในขณะที่ AMD จะใช้ชื่อ Hyper Memory
 
จุดเด่นของเทคโนโลยีนี้คือช่วยให้ชิปกราฟิกสามารถดึงแรมของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เดิมเทคโนโลยี Turbo Cache และ  Hyper Memory จะใช้กับชิปกราฟิกรุ่นระดับต่ำและชิปกราฟิกของโน๊ตบุ๊คเท่านั้นแต่ปัจจุบันผู้ผลิตชิปกราฟิกทั้งสองได้เริ่มนำมาใช้กับชิปกราฟิกระดับกลาง-ล่างบางรุ่น เพื่อช่วยเพิ่มขนาดหน่วยความจำของชิปกราฟิก

ชิปกราฟิกของ nVidia

nVidia (www.nvidia.com) มีชื่อเสียงมาจากการพัฒนาชิปในตระกูล GeForce ซึ่งเป็นชิปกราฟิก 3 มิติตัวแรกที่สามารถประมวลผลแสงและเงาโดยไม่ต้องพึ่งการทำงานของซีพียู การวางตำแหน่งใหม่ของชิปกราฟิก GeForce หลังจาก GeForce 9 ทาง nVidia ได้เปลี่ยนชื่อรุ่นใหม่ด้วยการนำตัวอักษรวางไว้หน้าตัวเลข และเริ่มเรียกชื่อรุ่นตามลำดับในตระกูล 100, 200 ตามลำดับ เช่น GeForce GT 150, GeForce GTX 295 เป็นต้น
ชิปกราฟิกตระกูล nVidia GeForce ได้พัฒนามาเรื่อยๆอย่างเช่น ตระกูล 400 Series โดยมีรุ่นตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงสูงสุด  เช่น GeForce GTX465, GeForce GTX485 เป็นต้น

ชิปกราฟิกของ Intel

บริษัท Intel เป็นผู้ผลิตชิปกราฟิกในรูปของชิปเชตมานานลักษณะชิปกราฟิกของ Intel จะเน้นกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความประหยัด ชิปกราฟิค GMA950 ในชิปเซต 945G และ GMA X3000 ในชิปเซต G965 ซึ่งเป็นชิปกราฟิคตัวแรกที่รองรับ Windows Vista ปัจจุบันชิปกราฟิคของ Intel ได้พัฒนามาถึง GMAX4500 HD ในเชิปเซต G45 และรุ่นใหม่ GMA HD ในซีพียู Core i

ชิปกราฟิกของ AMD (ATi)

AMD (ati .amd.com) ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท ATi ซึ่งผู้ผลิตชิปกราฟิก 3 มิติในตระกูล Radeon ที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการยอมรับจากบรรดาเซียนเกมส์เมอร์ ชิปกราฟิกรุ่นใหม่ของ AMD (ATi) จะใช้ชื่อรุ่นนำหน้าด้วยคำว่า HD ซึ่งสื่อถึง High Definition เพื่อบอกผู้ใช้ว่าชิปกราฟิกรุ่นใหม่รองรับการเข้ารหัส HDCP เพื่อการชมวีดีโอความละเอียดสูง
ชิปกราฟิกตระกูล Radeon โดยมีตั้งแต่ตระกูล Radeon HD5400, Radeon HD5600/HD5700 และ Radeon HD5800/HD5900 ตามลำดับประสิทธิภาพของชิปกราฟิก AMD เปิดตัว Radeon HD6000 Series เพื่อเร่งประสิทธิภาพการประมวลผลด้านกราฟิกให้ดียิ่งขึ้นและยังพัฒนา Series ต่อๆมามากขึ้นเรื่อย

Intel Matrix Storage Technology

Intel Matrix Storage Technology เป็นเทคโนโลยี RAID ซึ่งมีใช้กับชิปเซต Intel ICH6R/ICH6W ขึ้นไป Intel Matrix Storage Technology เป็นการผสมระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 โดยใช้ฮาร์ดดิสก์เพียง 2 ตัว ปกติการตั้งค่า RAID ผู้ใช้จะไม่สามารถกำหนดขนาดความจุได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ 640 GB ต่อ RAID 0 จะได้ความจุ 1,280 GB และ RAID 1 ได้ความจุ 640 GB
แต่ Intel Matrix Storage ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดได้ หากเป็นฮาร์ดดิสก์ 640 GB 2 ตัวต่อแบบ Intel Matrix Storage ผู้ใช้อาจกำหนดให้พื้นที่ 350 GB ส่วนแรกเป็น RAID 0 (2 ตัวรวมได้ 700 GB) อีก 290 GB ที่เหลือทำเป็น RAID 1 สำหรับเก็บข้อมูลสำคัญ หากฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งเสียข้อมูลส่วนของ RAID 1 ขนาด 290 GB ก็ยังสามารถใช้งานได้


 Intel Matrix Storage ให้ประสิทธิภาพไม่แตกต่างจาก RAID 0 และ RAID 1 ปกติ ดังนั้น หากผู้ใช้ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยของข้อมูล การเลือกใช้ Intel Matrix Storage กับฮาร์ดดิสก์เพียง 2 ตัวเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าและประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการต่อ RAID 10 ที่ต้องการฮาร์ดดิสก์ถึง 4 ตัว

RAID 10 แรงปลอดภัยไร้กังวล

RAID 10 จะเป็นการนำเทคโนโลยีของ RAID 0 และ 1 มารวมกัน เทคโนโลยี RAID 10 ต้องการฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 4 ตัว เมื่อเราสั่งบันทึกข้อมูล ข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ (Data Stripping) แยกสลับกันเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวแรก ส่วนฮาร์ดดิสก์อีก 2 ตัวก็จะใช้สำรองข้อมูล (Data Mirror) ของฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวแรก

ปัญหาที่สำคัญของผู้ใช้ RAID Level 10 จะอยู่ที่ราคาของฮาร์ดดิสก์เป็นหลัก เพราะต้องซื้อฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกันถึง 4 ตัว แต่แง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยข้อมูลแล้วย่อมเหนือกว่า RAID Level 0 อย่างเห็นได้ชัด

RAID 5 แรงแบบปลอดภัย

RAID ระดับ 5 เป็นการนำเอารูปแบบของ RAID 0 กับการตรวจสอบความผิดพลาดด้วยพาริตี้ (Parity) มาใช้ การทำงานแบบ RAID 5 ต้องการฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ตัว การเก็บข้อมูลจะกระจายไปยังฮาร์ดดิสก์ทุกตัวเช่นเดียวกับ RAID 0 
แต่ในระหว่างการจัดเก็บข้อมูลจะมีการสร้างพาริตี้เพื่อตรวจสอบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเสมอ หากพบความผิดพลาดของฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่ง เพียงเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ระบบก็จะสามารถตรวจสอบกับค่าพาริตี้เพื่อซ่อมแซมให้ข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม

RAID 1 เมื่อข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าชีวิต

สำหรับ RAID ในระดับ 1 จะใช้คุณสมบัติ Data Mirror เป็นการสำรองข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับกระจกเงา ซึ่งเวลาเขียนข้อมูลจะมีการจัดเก็บลงไปในฮาร์ดดิสก์อีกตัวหนึ่งด้วย สำหรับ RAID 1 นั้นเมื่อเราสั่งให้บันทึกข้อมูล นอกจากข้อมูลจะถูกจัดเก็บในฮาร์ดดิสก์ตัวแรก (หลัก) แล้ว ก็ยังจัดเก็บข้อมูลชุดเดียวกันนี้ไว้ในฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ด้วย (ดังรูป) ดังนั้น เมื่อฮาร์ดดิสก์ตัวแรกเสีย เราก็สามารถสลับไปทำงานบนฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ได้ทันที

RAID 0 เทคโนโลยีเพื่อความแรง

เทคโนโลยี RAID ในระดับ 0 จะเป็นการนำฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่ 2 ตัวมาต่อแบบขนานกัน และใช้คุณสมบัติ Data Stripping คือแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ แล้วแยกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละตัว RAID 0 ช่วยให้การรับ/ส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเท่านั้น ข้อมูลที่จะจัดเก็บจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ แยกสลับกันเก็บเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 ตัว (ดังรูป) ประสิทธิภาพในการอ่าน/เขียนข้อมูลได้มาจากการทำงานร่วมกันของฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 ตัว
ฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 ตัวจะสลับกันทำงานทำให้ช่วงเวลาในการรอข้อมูลลดลงเป็นครึ่งหนึ่ง (เมื่อต่อฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน 2 ตัว) และจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 4 เมื่อนำฮาร์ดดิสก์ 4 ตัวมาต่อร่วมกัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ RAID 0 คือ ความจุที่สามารถใช้งานได้จะเท่ากับจำนวนความจุของฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่นำมาต่อร่วมกัน

RAID เทคโนโลยีเพื่อฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์เป็นสื่อเก็บข้อมูลหลักของคอมพิวเตอร์ การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับ/ส่งข้อมูล ตลอดจนการป้องกันปัญหาการเสียหายของฮาร์ดดิสก์ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ RAID (Redundant Array of Independent Disks) จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยี RAID แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Data Stripping และ Data Mirror การทำ Data Stripping คือ การแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ แล้วแยกเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละตัว
ส่วน Data Mirror เป็นการสำรองข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับกระจกเงา ซึ่่งเวลาเขียนข้อมูลจะจัดเก็บลงไปในฮาร์ดดิสก์อีกตัวหนึ่งด้วย (เปรียบเสมือนกระจกเงาของฮาร์ดดิสก์ตัวหลัก) เทคโนโลยี RAID มีหลายระดับเพื่อรองรับการทำงาน ตั้งแต่ระดับเครื่องซีพีไปจนถึงเครื่องเชิร์ฟเวอร์ในองค์กรขนาดใหญ่สำหรับหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวถึงเทคโนโลยี RAID ในระดับพื้นฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไปเท่านั้นคือ RAID Level 0, 1, 5, 10 และ Intel Matrix Storage Technology


RAID ระดับต่างๆ

SAS ยุคใหม่ของ SCSI

เมื่อเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบ IDE ได้พัฒนาไปเป็น Serial ATA ระบบควบคุมการทำงานของฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ก็ได้พัฒนาไปเป็น SCSI แบบวงจรอนุกรม (Serial) เช่นกัน โดยมีชื่อเรียกว่า Serial Attached SCSI หรือ (SAS) ซึ่งมีประสิทธิภาพการรับ/ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 300 MB/s หรือที่ 600 MB/s ในรุ่น  SAS 2


แม้ประสิทธิภาพการรับ/ส่งข้อมูลจะเท่ากับ Serial ATA แต่การทำงานของ SAS นั้นจะมีชิปควบคุมภายในตัวอุปกรณ์ที่มีอิสระจากซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้การรับ/ส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่า Serial ATA ของคอมพิวเตอร์ทั่วไป

ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI



ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีจุดเด่นด้านการรับ/ส่งข้อมูลที่มีความเร็วถึง 320 MB/s และใช้พลังงานซีพียูน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ตัวควบคุมแบบ SCSI สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ได้มากถึง 7-15 ตัว ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้โดยปกติแล้วจะนิยมใช้ในเครื่องเซิฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพการรับ/ส่งข้อมูล

การเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI เดิมนั้นเป็นแบบ 50 เข็ม จากนั้นพัฒนาต่อมาเป็นแบบ 68 เข็มและในปัจจุบันจะมีแบบ 80 เข็มเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย โดยทั้ง 3 แบบนี้สามารถหาซื้อตัวแปลง (adapter) เพื่อใช้งานร่วมกันได้ ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในเซิฟเวอร์ระดับองค์มากกว่าเครื่องพีซีทั่วไป

eSATA และ eSATAp

External SATA หรือ eSATA เป็นส่วนขยายที่มาจากมาตรฐาน SATA 2.5 เพื่อรองรับการเชื่อมต่อร่วมกับฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External Harddisk) การเชื่อมต่อด้วยมาตรฐาน eSATA ให้ประสิทธิภาพมากกว่า USB 2.0 หรือ Firewire 400 คือมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการติดตั้งภายในเครื่อง




มาตรฐานใหม่ eSATAp (eSATA Power) หรือ eSATA/USB เป็นการนำเทคโนโลยีของ USB เข้ามาทำงานร่วมกับ eSATA เดิม eSATA ไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าในตัวเอง การใช้งานจึงต้องมีตัวจ่ายไฟเพิ่มเติมทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่เมื่อนำมาทำงานร่วมกับ USB จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ที่เป็น eSATA โดยมีแรงดันไฟฟ้าขนาด 5V ของพอร์ต USB  เพื่อการใช้งานกับอุปกรณ์เล็กๆน้อยๆได้ดียิ่งขึ้น


นอกจากจะจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ 5V แล้ว ยังมีพอร์ต eSATAp บางรุ่นสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 12 V ได้ โดยผู้ใช้สังเกตได้จากขั้วทองแดงทางด้านข้างของหัวต่อ อุปกรณ์ที่รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ 12 V ผ่านหัวต่อ eSATAp ช่วยให้ใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้หลากหลายขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ หรือไดรว์ CD/DVD

ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA (SATA)

ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA (SATA) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อในปัจจุบัน สายมี่ใช้กับฮาร์ดดิสก์มีจำนวนขาเพียง 7 เข็ม ส่วนที่เพิ่มจาก IDE คือ สายไฟสำหรับจ่ายไฟให้กับฮาร์ดดิสก์จะใช้หัวต่อแบบใหม่ที่ออกมาแบบโดยเฉพาะ

มาตรฐาน SATA 1.0 เป็นจุดเริ่มต้ินของมาตรฐานการรับ/ส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA ตามมาตรฐาน SATA 1.0 นั้น ฮาร์ดดิสก์จะรับ/ส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 1.5 Gb/s หรือ 150 MB/s และยังไม่รองรับการถอดและติดตั้งในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน (Hot Plug)

SATA II เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อจาก SATA 1.0 โดยมีอัตราเร็วคงเดิม ซึ่งอาจจะเหนโฆษณาจากทางผู้ผลิตที่บอกว่า SATA II มีอัตราเร็ว 3 Gb/s หรือ 300 MB/s ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่พูด ตามมาตรฐานของ SATA II จริงๆ แล้วนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์




คุณสมบัติ NCQ (Native Command Queuing) ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์สามารถอ่านข้อมูลที่อยุ่ใกล้โดยไม่คำนึงถึงลำดับการอ่า่นข้อมูล คุณสมบัติ AHC (Advance Host Controller) ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ได้เต็มประสิทธิภาพ และยังรองรับคุณสมบัติ Hot Plug อีกด้วย

SATA 3 Gb/s เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อจาก SATA II โดยเพิ่มประสิทธิภาพการรับ/ส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 3 Gb/s หรือ 300 MB/s และยังคงรองรับคุณสมบัติต่างๆ ที่ SATA II มี  และลักษณะของหัวต่อยังคงเหมือนเดิมชิปเซตบนเมนบอร์ดสามารถค้นหาและปรับโหมดการทำงานได้อัตโนมัติ
2TB (2000GB) Sata III Hard Drive


มาตรฐาน SATA 2.5 มีการอ้างถึงการทำงานคล้ายๆกับ SATA 3 Gb/s ตามมาตรฐานของ SATA 2.5 ได้เพิ่มข้อกำหนดเรื่องจำนวนหัวต่อ SATA บนเมนบอร์ดให้มีอย่างน้อย 6 หัวต่อเพื่อรองรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์มากกว่า 1 ตัวและรองรับการทำงานร่วมกัีบไดรว์ CD/DVD รุ่นใหม่ที่เป็น Serial ATA

ล่าสุดมาตรฐาน SATA 6 Gb/s เป็นมาตรฐานใหม่ในปัจจุบัน โดยมีประสิทธภาพการรับ/ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น 2 เท่าและเพิ่มประสิทธิภาพโหมด NCQ และการจัดการพลังงาน ชิปเซตตัวแรกที่รองรับ มาตรฐาน SATA 6 Gb/s จะเป็นชิปเซต South Bridge รุ่น AMD SB850 ส่วนชิปเซตของซีพียู Intel จะเป็นรุ่น  Intel 6 Serie  ขึ้นไป

ฮาร์ดดิสก์ IDE

ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (Intergrated Device Electronics) เป็นระบบเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ซึ่งเก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีสายแพ 80 เส้น แต่มีหัวต่อเพียง 40 ขา (40 เส้นที่เหลือเป็นสายกราวน์ เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวน) ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์แบบ IDE 1 ชุดจะสามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 2 ตัว

Maxtor กำหนดมาตรฐาน Big Drive ขึ้นมารองรับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า 137 GB ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นที่ยังควบคุมแบบ Ultra DMA 100 MB/s หรือต่ำกว่า จะต้องอัพเดตไบออสเพื่อให้สามารถทำงานกับฮาร์ดดิสก์ความจุขนาดนี้ได้


การเลือกซื้อแรมแบบ Channel Kit

เพื่อให้การทำงานแบบ Dual Channel และ Triple Channel ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้วนั้น  เราควรเลือกซื้อแรมที่มีความสามารถทำงานร่วมกันแบบ Dual Channel และ Triple Channel  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แรมแบบนี้จะมีขายเป็นแบบชุดเรียกว่า Kit ซึ่งมี 2-3 แผงมาให้


เมื่อ Intel  ตระกูล Core i ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA2011 ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกันกับแรมแบบ Quad Channel หรือใช้แรมถึง 4 แถวผู้ผลิตจึงวางจำหน่ายชุดแรมแบบ Quad Channel Kit เพื่อรองรับการทำงานของซีพียู Core i รุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มความแรง 2-4 เท่าด้วย Multi Channel

ปกติเมื่อติดตั้งแรม DDR2-800 แรมจะทำงานที่ความเร็ว 800 MHz ซึ่งจะได้อัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 6.4 GB/s แต่แรมเป็นศูนย์กลางการรับ/ส่งข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงได้ออกแบบให้แรมสามารถทำงาน 2 แถวพร้อมกันมีชื่อเรียกว่า Dual Channel โดยมีการเข้าถึงข้อมูลพร้อมกันทั้ง 2 แผง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของแรมเพิ่มขึ้นจากเดิม 6.4 GB/s ไปเป็น 12.8 GB/s (เมื่อใช้กับแรม DDR2-800) แต่ผู้ใช้จะต้องติดตั้งแรมทั้ง 2 แถวให้ถูกแชนแนล (Channel) ด้วย โดยศึกษาได้จากคู่มือของเมนบอร์ด


สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงทุกครั้งเมื่อจะใช้งาน Dual Channel ก็คือ แรมที่อยู่ในแชนแนลเดียวกันควรเป็นแรมยี่ห้อและมีความเร็วเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการรับ/ส่งข้อมูล เพราะแรมแต่ละแผงจะใช้ชิปแรมยี่ห้อที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นแรมยี่ห้อเดียวกันก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องสัีงเกตยี่ห้อของชิปแรมเสมอเมื่อต้องการจะใช้งานแบบ Dual Channel
ปัจจุบันซีพียูตระกูล Core i ได้ออกแบบให้รวมวงจรควบคุมหน่วยความจำภายในตัวซีพียูเช่นเดียวกับ AMD การเปลียนแปลงนี้ทำให้การออกแบบวิธีการเข้าหน่วยความจำแบบใหม่ที่เรียกว่า Triple/Quad Channel การทำงานของแรมแบบ Triple/Quad Channel ช่วยให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า

เพิ่มแรมยังไงให้พอกับการใช้งาน

โดยปกติแล้วซอฟแวร์ต่างๆ จะกำหนดขนาดของแรมเบื้องต้นไว้แล้ว เช่น ระบบปฏิบัติการของทางไมโครซอฟท์ ระบบปฏิบัติการ Windows XP กำหนดไว้ที่ 512 MB หรือ Windows Vista กำหนดไว้ที่ 1 GB แต่ในความเป็นจริงแล้วเราใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่านั้นไม่ได้มีเฉพาะระบบปฏิบัติการ ยังมีซอฟแวร์ต่างๆ ที่เราทำการติดตั้งอยู่อีกมากมายรวมไปถึงเกมด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้ขนาดของแรมที่เหมาะสมต้องมากกว่าค่าที่ทางไมโครซอฟท์กำหนด ควรจะมีขนาดเป็น 2 เท่าของค่าที่กำหนดเป็นอย่างต่ำ

รูปแบบการใช้งาน









ในระบบปฏิบัติการ Windows XP ถ้าหากคุณเป็นคนที่ไม่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อะไรมากมาย หรือใช้งานทั่วไปอย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์เอกสารรายงานต่างๆ ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 1 GB

ในระบบปฏิบัติการ Windows Vista และ Windows 7 ถ้าหากคุณเป็นคนที่ไม่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อะไรมากมาย หรือใช้งานทั่วไปอย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์เอกสารรายงานต่างๆ ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 2 GB


ในระบบปฏิบัติการ Windows XP ถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้งานในด้านการเล่นเกมและด้านงานกราฟฟิคเป็นหลัก ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 2 GB

ในระบบปฏิบัติการ Windows 7 ถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้งานในด้านการเล่นเกมและด้านงานกราฟฟิคเป็นหลัก ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 2-4 GB

อย่างไรก็ตามการใช้งานของแต่ละท่านแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จุดประสงค์ เป้าหมายของการใ่ช้งานคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน ควรจะคำนวณว่าเรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้่อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟังก์ชันของเมนบอร์ดยุคใหม่

เมนบอร์ดยุคใหม่ทุกวันนี้มีฟังก์ชันต่างๆ ออกมามากมาย และนิยมโฆษณาอวดอ้างเกี่ยวกับฟังก์ชันต่างๆลูกเล่นเสริม ที่ค่ายนั้นๆได้ทำนั้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นแรงจูงใจให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ให้ความสนใจกับเมนบอร์ดค่ายนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอเวอร์คล็อกได้ดีกว่า แรงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เป็ฯสีสันและแรงดึงดูดให้เมนบอร์ดดูมีความหน้าสนใจมากยิ่งขึ้น

กิกะบิตแลน
เมนบอร์ดรุ่นใหม่เกือบ 100% ติดตั้งฟังก์ชันนี้มาให้ ซึ่งก็คือชิปแลนมีทั้งแบบธรรมดาและแบบที่มีความเร็ว 100 Mbps ซึ่งผู้ใช้สามารถติดตั้งระบบแลนความเร็วสูงภายในบ้านได้ง่ายด้วยสายแลนแบบไขว้ แต่ถ้าจะต่อหลายเครื่องผ่านสวิตชิ่งฮับต้องซ้อแบบกิกะบิตฮับเท่านั้น ซึ่งจะะแพงกว่าแบบธรรมดาเป็นพันเลยทีเดียว



ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง
ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง หรือส่วนใหญ่ทางผู้ผลิตเค้าชอบเรียกกันว่า Solid Capacitor เป็นตัวเก็บประจุที่มีอายุการใช้งานได้ดีกว่าแบบทรงกลมธรรมดา ผู้นำที่โฆษณาเรื่องตัวเก็บประจุคุณภาพสูงก็คือ Gigabyte โดยจะอยู่ในบอร์ดรุ่นที่มีอักษรตัว D (Durable) หลังจากนั้นทางฝั่ง Asus ก็เริ่มที่จะวางจำหน่ายบ้าง ส่วนยี่ห้ออื่นแม้จะไม่โฆษณาตรงๆแต่ก็เริ่มติดตั้งตัวเก็บประจุคุณภาพสูงด้วยเช่นกัน

วงจรจ่ายไฟซีพียูแบบเทพ
วงจรจ่ายไฟซีพียู เป็นชุดวงจรที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับซีพียู ตามปกติวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูจะใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์พวกมอสเฟต(Mosfet) กับขดลวดแกนเฟอร์ไรต์(Ferrite) โดยวงจร 1 ชุดหรือ 1 เฟต(Phase) จะใช้ขดลวดแกนเฟอร์ไรต์กับมอสเฟตอย่างละ 1-2 ตัว ยิ่งเมนบอร์ดออกแบบให้มีจำนานมากโอกาสที่ซีพียูจะทำงานเสถียรก็มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่แน่นอนว่าถ้ายิ่งมากราคาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
ระบายความร้อนด้วยฮีตไปป์ิ
ชิปเซตรุ่นใหม่ต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงจึงเกิดความร้อนมากขึ้น การที่จะเพิ่มความเร็วของพัดลมอาจจะส่งผลเสียในเรื่องของเสียงดังรบกวน ดังนั้นทางผู้ผลิตเมนบอร์์ดจึงเปลี่ยนจากพัดลมมาเป็นฮีตไปป์แทน(Heat Pipe) ซึ่งช่วยระบายความร้อนแทนแต่แน่นอนว่าไม่ดีเท่ากับพัดลม แต่ช่วยเรื่องปัญหาเสียงรบกวนได้ดีมาก จริงๆ แล้วผู้ผลิตมองว่า ทุกวันนี้เราใช้พัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียูอยู่แล้ว ฮีตไปป์ที่วางอยู่โดยรอบก็จะได้รับไอเย็นเหมือนกัน ผู้ใช้ที่มีฮีตไปป์จึงควรจัดตำแหน่งพัดลมให้ดีเพื่อไม่ให้อุณภูมิภายในเครื่องสูงเกินไป
เมนบอร์ดประหยัดไฟ
ทางบริษัท Asus และ Gigabyte เป็นบริษัทที่เปิดตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบให้ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเมนบอร์ดจะมีชิปที่ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการจ่ายไฟของซีพียู เพื่อให้สามารถปรับระดับการจ่ายไฟของซีพียูได้ตามภาระการโหลดของซีพียูในขณะนั้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานของเมนบอร์ดและซีพียูได้เป็นอย่างดี

ทาง Asus จะเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า EPU(Energy Process Unit) ในขณะที่ Gigabyte เรียกว่า Dynamic Energy Saver ปัจจุบัน MSI ได้ออกแบบเมนบอร์ดของตนให้สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้เช่นกัน ซึ่งมีชื่อว่า Green Power ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชัน DrMOS ในเมนบอร์ดยี่ห้อ MSI

ads by nuffnang