Use this space to put some text. Update this text in HTML

Supawich L.. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทความที่ได้รับความนิยม

ปัญหาเสียงไม่ออก คอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง

ปัญหาเสียงไม่ออกหรือคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียงนั้น เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหานี้ถ้าหาใครที่ลงวินโดว์ใหม่แล้วพบว่าคอมพิวเตอร์ของเราไม่มีเสียง เราจะมีวิธีแก้ไขยังไงให้คอมพิวเตอร์ของเรากลับมาใช้งานได้ปกติ

ปัญหาเสียงไม่ออก หรือคอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง หลักๆนั้นเกิดจากการติดตั้งไดรเวอร์เสียง ที่ช่วยให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ วิธีการตรวจสอบว่าเราได้ติดตั้งไดร์เวอร์เสียงหรือไม่ ทำได้ดังนี้

  1. กดที่่เมนู Start
  2. เลือกเมนู Control Panel
  3. ค้นหาไอคอนที่ชื่อว่า System
  4. เมื่อดับเบิลคลิกไอคอม System แล้วให้เราค้นหาเมนูที่ชื่อว่า Device Manager
  5. ทำการตรวจสอบว่าเราติดตั้งไดรเวอร์เสียงแล้วหรือยังให้คลิกที่ Sound ,video and game controller ถ้าหากพบว่ามีไอคอนบางตัวมีเครื่องหมายตกใจสีเหลืองให้เราทำการติดตั้งไดรเวอร์เสียงทันที
  6. เพื่อที่จะติดตั้งไดรเวอร์เสียงได้นั้น ต้องทราบรุ่นของเมนบอร์ดก่อนว่าเป็นยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร ซึ่งสังเกตได้จากตอนเปิดเครื่องหรือดาวน์โหลดโปรแกรม cpu-z เพื่อใช้ตรวจสอบสเปคของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอีกวิธีหนึ่งคือเปิดดูที่แผงเมนบอร์ดก็ได้เช่นกัน
  7. เมื่อทราบรุ่นเมนบอร์ดแล้วให้เราทำการโหลดไดรเวอร์เสียงของเมนบอร์ดรุ่นหรือยี่ห้อนั้นๆมาติดตั้งก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เรากลับมามีเสียงและใช้ได้ตามปกติ

อยู่ๆคอมพิวเตอร์ก็ดับ หาสาเหตุไปพร้อมกัน

ปัญหาคอมพิวเตอร์ดับ โดยไม่ทราบสาเหตุ หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าเกิดจากอะไร ทำไมคอมพิวเตอร์เราถึงดับไป ซึ่งแน่นอนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เสียหายหรือแหล่งจ่ายไฟไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เพียงพอ รวมทั้งอุณหภูมิของซีพียูที่สูงเกิดไปจนเมนบอร์ดสั่งตัดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีตรวจสอบอุณหภูมินั้นสามารถดูได้จากไบออสหรือใช้โปรแกรมที่แถมมากับเมนบอร์ด ค่าอุณหภูมิของทั้ง 2 แบบ อาจจะไม่เท่ากัน เพราะไบออสจะตรวจสอบค่าความร้อนของซีพียูแบบเรียวไทม์ ส่วนโปรแกรมจะตรวจสอบที่สภาพแวดล้อมขณะรันวินโดว์

วิธีการดูอุณหภูมิจากไบออสของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายๆ เพียงสั่งรีสตาร์ทเครื่องใหม่แล้วกดปุ่ม <Del> หรือปุ่มอื่นตามไบออสของแต่ละเครื่อง เมื่อเราเข้าถึงไบออสได้แล้วให้หาเมนูที่เกี่ยวกับ Hardware Monitor ให้กด <Enter> แล้วจะเห็นค่าของอุณหภูมิซีพียูภายในเคส

แนวทางการตรวจสอบอุณหภูมิของไบออสยี่ห้อต่างๆ  
  • BIOS AMI เมนู Hardware Monitor หรือ H/W Monitor
  • BIOS Award Medallion เมนู Power > Hardware Monitor
  • BIOS Award Modular เมนู PC Health Status
ส่วนการดูอุณภูมิจากโปรแกรมก็ไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแค่ท่านตรวจสอบคู่มือหรือโปรแกรมที่แถมมากับเมนบอร์ด ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีความแตกต่างกันออกไป และอีกโปรแกรมหนึ่งก็คือ โปรแกรม Hardware Monitor ที่สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและแรงดันไฟฟ้า อุณหภูมิของการ์ดแสดงผลและฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมจะอ่านค่าโดยตรงจากไบออส หรือทำงานร่วมกับไดรเวอร์ของอุปกรณ์นั้นๆ 

>>>ดาวน์โหลด<<<

เสียงปี๊บของ BIOS

เสียงปี๊บจาก BIOS นั้น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการแจ้งปัญหาโดยผ่านทางเสียง "ปี๊บ" ของลำโพงขนาดเล็กภายในเคส ถ้าหากคุณได้ยินเสียง "ปี๊บ" และเข้าใจว่าเสียงว่าเกิดปัญหาที่ส่วนใดของตัวเครื่อง ก็สามารถจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่ง BIOS ยี่ห้อต่างๆ ก็จะมีลักษณะของเสียงเตือนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ยี่ห้อของไบออสที่ตนเองใช้อยู่จึงจะสามารถวิเคราะห์ปัญหานั้นได้

วิเคราะห์เสียง "ปี๊บ" ของ BIOS ยี่ห้อต่างๆ 

BIOS AMI
  • จำนวนเสียง 1 ครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานปกติ
  • จำนวนเสียง 4 ครั้ง ตัวนับเวลาทำงานผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 5 ครั้ง ซีพียูทำงานผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 6 ครั้ง ตัวควบคุม Gate A20 ของคีย์บอร์ดผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 8 ครั้ง หน่วยความจำของการ์ดแสดงผลทำงานผิดพลาด
  • จำนวนเสียง 9 ครั้ง ข้อมูลในไบออสไม่ถูกต้อง
  • จำนวนเสียง 11 ครั้ง หน่วยความจำแคชทำงานผิดพลาด
BIOS Award
  • สั้น 1 ครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานปกติ
  • สั้น 2 ครั้ง ข้อมูลในไบออสทำงานไม่ถูกต้อง
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 1 ครั้ง แรมหรือเมนบอร์ดทำงานผิดพลาด
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 2 ครั้ง การ์ดแสดงผลหรือมอนิเตอร์ทำงานผิดพลาด
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง คีย์บอร์ดทำงานผิดพลาด
  • ยาว 1 ครั้ง สั้น 9 ครั้ง ตัวไบออสทำงานผิดพลาด
  • สั้นต่อเนื่องตลอด เกิดปัญหาที่แรงดันไฟฟ้า
  • ยาวต่อเนื่องตลอด เกิดปัญหาที่หน่วยความจำ

การกำหนดค่าของไบออส(BIOS)

การกำหนดค่าปกติ (Defaul Setting) ก็คือการรีเซ็ต (Reset) ให้ไบออสกลับไปใช้ค่าปกติที่ตั้งมาจากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ด ซึ่งค่าปกติเป็นค่าที่เชื่อถือหรือมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าจะสามารถทำงานได้กับอุปกรณ์ทุกตัวอย่างไม่มีปัญหา นอกจากนี้การกำหนดค่าปกติยังจำเป็นสำหรับผู้ที่นิยมการโอเวอร์คล็อก (Overclock) เพราะผู้ใช้อาจจะปรับค่าที่สูงเกิดกว่าที่อุปกรณ์จะทำงานได้ปกติ

การตั้งค่าของไบออสยี่ห้อต่างๆ
  • ไบออส AMI     -เมนู Load fail Safe Defaults >OK
  • ไบออส Award Medallion   -เมนู Exit >Load Setup Default >Y
  • ไบออส Award Modular   -เมนู Load Fail-Safe Defaults

ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์บูตไม่ขึ้น



ปัญหาคอมพิวเตอร์บูตไม่ขึ้นนั้น มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเกิดปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าไบออกผิดพลาด การโอเวอร์คล็อกซีพียู เป็นต้น ดังนั้นเราจึงมีวิธีแก้ไขการตั้งค่าไบออสให้กลับมาเป็นปกติได้วิธีเดียวนั่นก็คือ วิธีการลบข้อมูลการตั้งค่าในไบออส ง่ายๆ เพียงแค่ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และถอดปลั๊กให้เรียบร้อย จากนั้นเปิดฝาเคสออกมา หาตำแหน่งของถ่านไฟเลี้ยงไบออส ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมแบนๆ คล้ายกับถ่านนาฬิกาที่เราเคยเห็น ถอดถ่านนั้นออกมาทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วินาที จากนั้นใส่ถ่านกลับเข้าไปที่เดิม และทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราตามปกติ ค่าต่างๆ ที่กำหนดไว้จะถูกลบออกไป ซึ่งจะต้องตั้งค่าวันเวลาและข้อมูลใหม่ทั้งหมด

OpenCL พลังแห่งชิปกราฟิก

GPGPU (General-Purpose computing on Graphic Processor Unit) เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีอยู่ใน nVidia GeForce 8 (ติดตั้งซอฟแวร์ PhysX) และ ATi Radeon HD4000 (ติดตั้งไดรเวอร์รุ่น 9.2) ขึ้นไป
เป็นการปฏิวัติวงการชิปการฟิกเพราะเมื่อก่อนนั้นเราจะนิยมใช้งานกับเกมและโปรแกรมด้าน 3 มิติ เท่านั้น

GPGPU เป็นการนำชิปกราฟิกมาใช้กับโปรแกรมทั่วไป โดยเฉพาะโปรแกรมด้านมัลติมีเดียและการตัดต่อวีดีโอ GPGPU จะนำชิปซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าซีพียูมาช่วยประมวลผล ทำให้ไม่ได้รับความนิยมการเล่นเกมสามารถใช้ประโยชน์จากชิปกราฟิกได้มากขึ้น การเลือกซื้อชิปกราฟิกรุ่นสูงๆมาใช้นั้นมีประโยชน์มากกว่าการเล่นเกม

OpenCL (Open Computing Language) มาตรฐานชุดคำสั่ง APls สากลเช่นเดียวกับ OpenGL (Open Graphic Library) และ OpenAL (Open Audio Library) ต่างกันตรงที่ OpenGL จะออกแบบมาเฉพาะด้านกราฟิก ในขณะที่ OpenAL ออกแบบมาเฉพาะระบบเสียง OpenCL จะนำเทคโนโลยี GPGPU มาใช้ประโยชน์ โดยมี Windows 7 และ Mac OS X 10.6 (Snow Leopard) สามารถนำ OpenCL ไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

PhysX คืออะไร

PhysX คือ เทคโนโลยีการทำงานของการ์ดประมวลผลทางด้วยฟิสิก์(Physic Card) เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลด้านพื้นผิวและการเคลื่อนไหวของวัตถุโดยเฉพาะ ชิปฟิสิกส์ไม่ได้ช่วยให้การ์ดแสดงผลทำงานได้เร็วขึ้นแต่จะช่วยในเรื่องของความสวยงานและความสมจริงของภาพและวัตถุต่างๆ แนวคิดนี้เกิดจาก Ageia ได้วางจำหน่ายการ์ดฟิสิกส์ทั้งแบบสล็อต PCI และ PCI Express x1 เพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผล(การ์ดจอ)


ปัญหาสำคัญของการ์ดฟิสิกส์จาก Ageia คือ ราคาที่แพงมาก ผู้ใช้บางส่วนอาจจะไม่นิยมที่จะซื้อมาใช้ nVidia จึงซื้อกิจการของ Ageia และพัฒนาการประมวลผลด้านฟิสิกส์จากชิปฟิสิกส์มาเป็นซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกันกับชิปกราฟิกของ nVidia โดยชุดพัฒนาที่มีชื่อว่า CUDA (Compute Unified Device Architecture) ซึ่งรองรับชิปกราฟิกตั้งแต่ GeForce 8  ขึ้นไป

nVidia เรียกชื่อชุดประมวลผลกราฟิกด้วยชุดคำสั่ง CUDA ว่า nVidia PhysX ซึ่งผู้ที่ใช้การ์ดแสดงผล GeForce 8 ขึ้นไปสามารถดาวน์โหลดไดรเวอร์ ForceWare และไดรเวอร์ PhysX รุ่นใหม่มาติดตั้ดเพื่อรองรับการประมวลผลทางได้ฟิสิกส์ได้ทันที

และในขณะเดียวกัน AMD ก็ได้ร่วมมือกับ Havox พัฒนาซอฟแวร์ด้านการเคลื่อนไหวและฟิสิกส์สำหรับเกมและภาพยนต์ โดยทำงานคล้ายกันกับ nVidia PhysX คือเมื่อติดตั้งไดรเวอร์ด้านฟิสิกส์เพื่ทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลตระกูล Redeon HD4000 ลงไปก็สามารถทำงานได้ทันที

ads by nuffnang