|
เปรียบกันนะครับตัวล่างเป็น SATA ตัวบนเป็น IDE |
หัวต่อของไดรว์ต่าง จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ด้วยกัน คือหัวต่อสำหรับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์หรือเรียกง่ายๆ โบราณๆ ก็ แผ่นดิสก์นั่นแหละครับ อย่างที่สองคือหัวต่อสำหรับ
ฮาร์ดดิสก์(Harddisk)และ
ไดรว์CD/DVD หัวต่อ
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์มีจำนวนขา 34 ขา(เข็มที่จะไม่มีนะครับเค้าทำเพื่อป้องกันการเสียบผิดนั่นเอง)ใช้เชื่อมต่อกับ
ไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ส่วนหััวต่อ
ฮาร์ดดิสก์(Harddisk)และ
ไดรว์ CD/DVD ปัจจุบันนิยม 2 แบบคือ
- หัวต่อแบบ IDE มีลักษณะเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ แต่มีจำนวนเข็ม 40 ขา (เข็มที่ 20 จะไม่มี) เมนบอร์ด(Mainboard)รุ่นใหม่จะมีหัวต่อแบบ IDE มาเพียงช่องเดียว เนื่องจากความนิยมที่ลดน้อยลง แต่ละหัีวต่อจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัวขนานกันในสายเพียงสายเดียว การเชื่อมต่อแบบ IDE นี้เรียกว่า เอทีเอแบบขนาน (Parallel ATA)
- หัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) มีขนาดเล็กกว่าแบบ IDE การรับ/ส่งข้อมูลจะใช้การต่อแบบอนุกรม การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่าคือ 150 MB/s ปัจจุบัน Serial ATA (SATA) ได้รับการพัฒนาให้มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลให้สูงขึ้นถึง 300 MB/s และ 600 MB/s กันเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น