เมนบอร์ดยุคใหม่ทุกวันนี้มีฟังก์ชันต่างๆ ออกมามากมาย และนิยมโฆษณาอวดอ้างเกี่ยวกับฟังก์ชันต่างๆลูกเล่นเสริม ที่ค่ายนั้นๆได้ทำนั้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นแรงจูงใจให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ให้ความสนใจกับเมนบอร์ดค่ายนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอเวอร์คล็อกได้ดีกว่า แรงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เป็ฯสีสันและแรงดึงดูดให้เมนบอร์ดดูมีความหน้าสนใจมากยิ่งขึ้น
กิกะบิตแลน
เมนบอร์ดรุ่นใหม่เกือบ 100% ติดตั้งฟังก์ชันนี้มาให้ ซึ่งก็คือชิปแลนมีทั้งแบบธรรมดาและแบบที่มีความเร็ว 100 Mbps ซึ่งผู้ใช้สามารถติดตั้งระบบแลนความเร็วสูงภายในบ้านได้ง่ายด้วยสายแลนแบบไขว้ แต่ถ้าจะต่อหลายเครื่องผ่านสวิตชิ่งฮับต้องซ้อแบบกิกะบิตฮับเท่านั้น ซึ่งจะะแพงกว่าแบบธรรมดาเป็นพันเลยทีเดียว
ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง
ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง หรือส่วนใหญ่ทางผู้ผลิตเค้าชอบเรียกกันว่า Solid Capacitor เป็นตัวเก็บประจุที่มีอายุการใช้งานได้ดีกว่าแบบทรงกลมธรรมดา ผู้นำที่โฆษณาเรื่องตัวเก็บประจุคุณภาพสูงก็คือ Gigabyte โดยจะอยู่ในบอร์ดรุ่นที่มีอักษรตัว D (Durable) หลังจากนั้นทางฝั่ง Asus ก็เริ่มที่จะวางจำหน่ายบ้าง ส่วนยี่ห้ออื่นแม้จะไม่โฆษณาตรงๆแต่ก็เริ่มติดตั้งตัวเก็บประจุคุณภาพสูงด้วยเช่นกัน
วงจรจ่ายไฟซีพียูแบบเทพ
วงจรจ่ายไฟซีพียู เป็นชุดวงจรที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับซีพียู ตามปกติวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูจะใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์พวกมอสเฟต(Mosfet) กับขดลวดแกนเฟอร์ไรต์(Ferrite) โดยวงจร 1 ชุดหรือ 1 เฟต(Phase) จะใช้ขดลวดแกนเฟอร์ไรต์กับมอสเฟตอย่างละ 1-2 ตัว ยิ่งเมนบอร์ดออกแบบให้มีจำนานมากโอกาสที่ซีพียูจะทำงานเสถียรก็มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่แน่นอนว่าถ้ายิ่งมากราคาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
ระบายความร้อนด้วยฮีตไปป์ิ
ชิปเซตรุ่นใหม่ต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงจึงเกิดความร้อนมากขึ้น การที่จะเพิ่มความเร็วของพัดลมอาจจะส่งผลเสียในเรื่องของเสียงดังรบกวน ดังนั้นทางผู้ผลิตเมนบอร์์ดจึงเปลี่ยนจากพัดลมมาเป็นฮีตไปป์แทน(Heat Pipe) ซึ่งช่วยระบายความร้อนแทนแต่แน่นอนว่าไม่ดีเท่ากับพัดลม แต่ช่วยเรื่องปัญหาเสียงรบกวนได้ดีมาก จริงๆ แล้วผู้ผลิตมองว่า ทุกวันนี้เราใช้พัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียูอยู่แล้ว ฮีตไปป์ที่วางอยู่โดยรอบก็จะได้รับไอเย็นเหมือนกัน ผู้ใช้ที่มีฮีตไปป์จึงควรจัดตำแหน่งพัดลมให้ดีเพื่อไม่ให้อุณภูมิภายในเครื่องสูงเกินไป
เมนบอร์ดประหยัดไฟ
ทางบริษัท Asus และ Gigabyte เป็นบริษัทที่เปิดตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบให้ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเมนบอร์ดจะมีชิปที่ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการจ่ายไฟของซีพียู เพื่อให้สามารถปรับระดับการจ่ายไฟของซีพียูได้ตามภาระการโหลดของซีพียูในขณะนั้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานของเมนบอร์ดและซีพียูได้เป็นอย่างดี
ทาง Asus จะเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า EPU(Energy Process Unit) ในขณะที่ Gigabyte เรียกว่า Dynamic Energy Saver ปัจจุบัน MSI ได้ออกแบบเมนบอร์ดของตนให้สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้เช่นกัน ซึ่งมีชื่อว่า Green Power ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชัน DrMOS ในเมนบอร์ดยี่ห้อ MSI
Use this space to put some text. Update this text in HTML
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น