Use this space to put some text. Update this text in HTML

Supawich L.. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

บทความที่ได้รับความนิยม

ฮาร์ดดิสก์ IDE

ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (Intergrated Device Electronics) เป็นระบบเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ซึ่งเก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีสายแพ 80 เส้น แต่มีหัวต่อเพียง 40 ขา (40 เส้นที่เหลือเป็นสายกราวน์ เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวน) ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์แบบ IDE 1 ชุดจะสามารถต่อกับอุปกรณ์ได้ 2 ตัว

Maxtor กำหนดมาตรฐาน Big Drive ขึ้นมารองรับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า 137 GB ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นที่ยังควบคุมแบบ Ultra DMA 100 MB/s หรือต่ำกว่า จะต้องอัพเดตไบออสเพื่อให้สามารถทำงานกับฮาร์ดดิสก์ความจุขนาดนี้ได้


การเลือกซื้อแรมแบบ Channel Kit

เพื่อให้การทำงานแบบ Dual Channel และ Triple Channel ได้อย่างไม่มีปัญหาแล้วนั้น  เราควรเลือกซื้อแรมที่มีความสามารถทำงานร่วมกันแบบ Dual Channel และ Triple Channel  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แรมแบบนี้จะมีขายเป็นแบบชุดเรียกว่า Kit ซึ่งมี 2-3 แผงมาให้


เมื่อ Intel  ตระกูล Core i ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA2011 ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกันกับแรมแบบ Quad Channel หรือใช้แรมถึง 4 แถวผู้ผลิตจึงวางจำหน่ายชุดแรมแบบ Quad Channel Kit เพื่อรองรับการทำงานของซีพียู Core i รุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มความแรง 2-4 เท่าด้วย Multi Channel

ปกติเมื่อติดตั้งแรม DDR2-800 แรมจะทำงานที่ความเร็ว 800 MHz ซึ่งจะได้อัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 6.4 GB/s แต่แรมเป็นศูนย์กลางการรับ/ส่งข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงได้ออกแบบให้แรมสามารถทำงาน 2 แถวพร้อมกันมีชื่อเรียกว่า Dual Channel โดยมีการเข้าถึงข้อมูลพร้อมกันทั้ง 2 แผง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของแรมเพิ่มขึ้นจากเดิม 6.4 GB/s ไปเป็น 12.8 GB/s (เมื่อใช้กับแรม DDR2-800) แต่ผู้ใช้จะต้องติดตั้งแรมทั้ง 2 แถวให้ถูกแชนแนล (Channel) ด้วย โดยศึกษาได้จากคู่มือของเมนบอร์ด


สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงทุกครั้งเมื่อจะใช้งาน Dual Channel ก็คือ แรมที่อยู่ในแชนแนลเดียวกันควรเป็นแรมยี่ห้อและมีความเร็วเท่ากัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการรับ/ส่งข้อมูล เพราะแรมแต่ละแผงจะใช้ชิปแรมยี่ห้อที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นแรมยี่ห้อเดียวกันก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องสัีงเกตยี่ห้อของชิปแรมเสมอเมื่อต้องการจะใช้งานแบบ Dual Channel
ปัจจุบันซีพียูตระกูล Core i ได้ออกแบบให้รวมวงจรควบคุมหน่วยความจำภายในตัวซีพียูเช่นเดียวกับ AMD การเปลียนแปลงนี้ทำให้การออกแบบวิธีการเข้าหน่วยความจำแบบใหม่ที่เรียกว่า Triple/Quad Channel การทำงานของแรมแบบ Triple/Quad Channel ช่วยให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า

เพิ่มแรมยังไงให้พอกับการใช้งาน

โดยปกติแล้วซอฟแวร์ต่างๆ จะกำหนดขนาดของแรมเบื้องต้นไว้แล้ว เช่น ระบบปฏิบัติการของทางไมโครซอฟท์ ระบบปฏิบัติการ Windows XP กำหนดไว้ที่ 512 MB หรือ Windows Vista กำหนดไว้ที่ 1 GB แต่ในความเป็นจริงแล้วเราใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่านั้นไม่ได้มีเฉพาะระบบปฏิบัติการ ยังมีซอฟแวร์ต่างๆ ที่เราทำการติดตั้งอยู่อีกมากมายรวมไปถึงเกมด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้ขนาดของแรมที่เหมาะสมต้องมากกว่าค่าที่ทางไมโครซอฟท์กำหนด ควรจะมีขนาดเป็น 2 เท่าของค่าที่กำหนดเป็นอย่างต่ำ

รูปแบบการใช้งาน









ในระบบปฏิบัติการ Windows XP ถ้าหากคุณเป็นคนที่ไม่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อะไรมากมาย หรือใช้งานทั่วไปอย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์เอกสารรายงานต่างๆ ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 1 GB

ในระบบปฏิบัติการ Windows Vista และ Windows 7 ถ้าหากคุณเป็นคนที่ไม่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อะไรมากมาย หรือใช้งานทั่วไปอย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์เอกสารรายงานต่างๆ ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 2 GB


ในระบบปฏิบัติการ Windows XP ถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้งานในด้านการเล่นเกมและด้านงานกราฟฟิคเป็นหลัก ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 2 GB

ในระบบปฏิบัติการ Windows 7 ถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้งานในด้านการเล่นเกมและด้านงานกราฟฟิคเป็นหลัก ขนาดของแรมที่เหมาะสม คือ 2-4 GB

อย่างไรก็ตามการใช้งานของแต่ละท่านแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จุดประสงค์ เป้าหมายของการใ่ช้งานคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน ควรจะคำนวณว่าเรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้่อย่างมีประสิทธิภาพ

ฟังก์ชันของเมนบอร์ดยุคใหม่

เมนบอร์ดยุคใหม่ทุกวันนี้มีฟังก์ชันต่างๆ ออกมามากมาย และนิยมโฆษณาอวดอ้างเกี่ยวกับฟังก์ชันต่างๆลูกเล่นเสริม ที่ค่ายนั้นๆได้ทำนั้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นแรงจูงใจให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ให้ความสนใจกับเมนบอร์ดค่ายนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอเวอร์คล็อกได้ดีกว่า แรงกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้เป็ฯสีสันและแรงดึงดูดให้เมนบอร์ดดูมีความหน้าสนใจมากยิ่งขึ้น

กิกะบิตแลน
เมนบอร์ดรุ่นใหม่เกือบ 100% ติดตั้งฟังก์ชันนี้มาให้ ซึ่งก็คือชิปแลนมีทั้งแบบธรรมดาและแบบที่มีความเร็ว 100 Mbps ซึ่งผู้ใช้สามารถติดตั้งระบบแลนความเร็วสูงภายในบ้านได้ง่ายด้วยสายแลนแบบไขว้ แต่ถ้าจะต่อหลายเครื่องผ่านสวิตชิ่งฮับต้องซ้อแบบกิกะบิตฮับเท่านั้น ซึ่งจะะแพงกว่าแบบธรรมดาเป็นพันเลยทีเดียว



ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง
ตัวเก็บประจุคุณภาพสูง หรือส่วนใหญ่ทางผู้ผลิตเค้าชอบเรียกกันว่า Solid Capacitor เป็นตัวเก็บประจุที่มีอายุการใช้งานได้ดีกว่าแบบทรงกลมธรรมดา ผู้นำที่โฆษณาเรื่องตัวเก็บประจุคุณภาพสูงก็คือ Gigabyte โดยจะอยู่ในบอร์ดรุ่นที่มีอักษรตัว D (Durable) หลังจากนั้นทางฝั่ง Asus ก็เริ่มที่จะวางจำหน่ายบ้าง ส่วนยี่ห้ออื่นแม้จะไม่โฆษณาตรงๆแต่ก็เริ่มติดตั้งตัวเก็บประจุคุณภาพสูงด้วยเช่นกัน

วงจรจ่ายไฟซีพียูแบบเทพ
วงจรจ่ายไฟซีพียู เป็นชุดวงจรที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้กับซีพียู ตามปกติวงจรจ่ายไฟให้กับซีพียูจะใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์พวกมอสเฟต(Mosfet) กับขดลวดแกนเฟอร์ไรต์(Ferrite) โดยวงจร 1 ชุดหรือ 1 เฟต(Phase) จะใช้ขดลวดแกนเฟอร์ไรต์กับมอสเฟตอย่างละ 1-2 ตัว ยิ่งเมนบอร์ดออกแบบให้มีจำนานมากโอกาสที่ซีพียูจะทำงานเสถียรก็มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่แน่นอนว่าถ้ายิ่งมากราคาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย
ระบายความร้อนด้วยฮีตไปป์ิ
ชิปเซตรุ่นใหม่ต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงจึงเกิดความร้อนมากขึ้น การที่จะเพิ่มความเร็วของพัดลมอาจจะส่งผลเสียในเรื่องของเสียงดังรบกวน ดังนั้นทางผู้ผลิตเมนบอร์์ดจึงเปลี่ยนจากพัดลมมาเป็นฮีตไปป์แทน(Heat Pipe) ซึ่งช่วยระบายความร้อนแทนแต่แน่นอนว่าไม่ดีเท่ากับพัดลม แต่ช่วยเรื่องปัญหาเสียงรบกวนได้ดีมาก จริงๆ แล้วผู้ผลิตมองว่า ทุกวันนี้เราใช้พัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียูอยู่แล้ว ฮีตไปป์ที่วางอยู่โดยรอบก็จะได้รับไอเย็นเหมือนกัน ผู้ใช้ที่มีฮีตไปป์จึงควรจัดตำแหน่งพัดลมให้ดีเพื่อไม่ให้อุณภูมิภายในเครื่องสูงเกินไป
เมนบอร์ดประหยัดไฟ
ทางบริษัท Asus และ Gigabyte เป็นบริษัทที่เปิดตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบให้ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยเมนบอร์ดจะมีชิปที่ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการจ่ายไฟของซีพียู เพื่อให้สามารถปรับระดับการจ่ายไฟของซีพียูได้ตามภาระการโหลดของซีพียูในขณะนั้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานของเมนบอร์ดและซีพียูได้เป็นอย่างดี

ทาง Asus จะเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า EPU(Energy Process Unit) ในขณะที่ Gigabyte เรียกว่า Dynamic Energy Saver ปัจจุบัน MSI ได้ออกแบบเมนบอร์ดของตนให้สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้เช่นกัน ซึ่งมีชื่อว่า Green Power ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชัน DrMOS ในเมนบอร์ดยี่ห้อ MSI

การเลือกซื้อซีพียูของ AMD

ปัจจุบัน AMD มีการทำกล่องให้ดูสวยงามเช่นกัน และหน้ากล่องจะมีข้อมูลของซีพียูบอกไว้อย่างชัดเจน พร้อมกับด้านข้างกล่องได้เจาะช่องให้มองเห็นสเปคบนตัวซีพียูด้วย กล่องซีพียู AMD รุ่นใหม่จะมีการติดสติกเกอร์สะท้อนแสงหรือฮอโลแกรม (Hologram) เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ

การเลือกซื้อซีพียูของ Intel

กล่องของซีพียู Intel จะมีข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับซีพียูเขียนไว้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องกังวลว่าจะซื้อซีพียูผิดรุ่น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการที่ผู้ซื้อมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าย่อมเป็นผลดี เพราะจะทำให้ไม่ซื้อซีพียูผิดรุ่น และถ้าร้านค้าที่ซื้อมาไม่รับคืนผู้ใช้อาจต้องเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์
ตัวอย่างกล่องของซีพียู Intel Core i5 สามารถดูสเปคของซีพียูในกล่องได้จากช่องด้านบน หรืออ่านรายละเอียดของสเปคซีพียูตรงแถบบาร์โค้ดใต้กล่อง โดยสเปคที่พิมพ์ไว้บนตัวซีพียูจะเขียนว่า 2.33GHZ/4M/1333 หมายถึง ซีพียูตัวนี้มีความเร็ว 2.33 GHz มีแคช L2 (ซีพียูตระกูล Core i จะเป็นขนาดแคช L3) รวม 4 MB และใช้กับบัส 1,333 MHz (ซีพียูตระกูล Core i ที่ใช้บัส DMI จะไม่มีตัวเลขบอกความเร็ว)
ซีพียูบางรุ่นได้รับการออกแบบให้สามารถโอเวอร์คล็อกด้วยการปรับค่าตัวคูณของซีพียูได้ โดยกล่องของซีพียูรุ่นนั้นจะมีข้อความ UNLOCKED คาดที่ด้านหน้าของกล่องเพื่อช่วยเป็นจุดสังเกตให้กับผู้ใช้ในการเลือกซื้อได้เป็นอย่างดี คุณสมบัติของซีพียูรุ่นที่สามารถปรับค่าตัวคูณได้นี้จะเหมือนกับรุ่นธรรมดา หากผู้ใช้ไม่ได้โอเวอร์คล็อกควรเลือกซื้อรุ่นธรรมดาก็เพียงพอแล้ว

ซีพียูตระกูล Phenom ll X6

ซีพียู Phenom ll X6 เป็นการพัฒนาเพื่อแข่งขันกับซีพียู Core i7 Extreme ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 6 หน่วยประมวลผล โดยโครงสร้างของซีพียู Phenom ll X6 จะคล้ายกับซีพียู Phenom ll รุ่นอื่นๆ เพียงแต่เพิ่มขนาดแคช L2  และ L3 ให้รองรับการทำงานแบบ 6 หน่วยประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซีพียู Phenom ll X6 สามารถทำงานบนเมนบอร์ดช็อกเก็ต AM3 รุ่นใหม่ได้

AMD Black Edition ซีพียูสำหรับนักโอเวอร์คล็อก

AMD เปิดตัวซีพียูในรูปแบบของฺ Black Edition สิ่งที่ผู้ใช้จะได้รับจากซีพียูในกลุ่มนี้คือ การปลดล็อกค่าตัวคูณของซีพียู เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบโอเวอร์คล็อกซีพียูเป็นชีวิตจิตใจ เนื่องจากการปลดล็อกค่าตัวคูณช่วยให้การโอเวอร์คล็อกทำได้อย่างอิสระมากขึ้น แต่สำหรับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ซีพียูรุ่น Black Edition ไม่ได้เร็วกว่ารุ่นปกติมากนัก

ซีพียูตระกูล Phenom ll


AMD Phenom ll พัฒนามาจากตระกูล Phenom รุ่นแรก โดยมีแคช L2 ขนาด 512 KB ต่อ 1 แกนประมวลผล และเพิ่มแคช L3 ในตัวซีพียู รองรับการทำงานกับช็อกเก็ต AM3 การวางจำหน่ายของซีพียูตระกูล Phenom จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามจำนวนหน่วยประมวลผล (Cores) คือ Phenom ll) X2 เป็นซีพียูแบบ Dual Core
ซีพียู Phenom ll X3 เป็นซีพียูแบบ Triple Core และรุ่นประสิทธิภาพสูงสุดกับ Phenom ll X4 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ Quad Core




ซีพียูตระกูล Athlon ll

ซีพียูตระกูล Athlon ll เป็นซีพียูที่พัฒนามาจาก Athlon 64 X2 เมื่อ AMD เปิดตัวซีพียู Phenom ll ดังนั้น ซีพียู Athlon ll จึงถูกลดระดับมาเป็นซีพียูราคาถูก โดยรองรับแรมแบบ Dual Channl ใช้ช็อกเก็ต AM3 มีทั้งรุ่น Dual Core (X2), Triple Core (X3) และ Quad Core (X4) ตัวซีพียูมีแคช L2 ขนาด 1-2 MB

ซีพียูรหัส Sandy Bridge ปี 2010-2011

ซีพียูตระกูล Core i รุ่นใหม่ภายใต้รหัสการพัฒนาที่มีชื่อว่า Sandy Bridge พร้อมเปิดตัวตั้งแต่ปลายปี 2010 โดยจะเป็นซีพียูแบบ Dual Core ที่มีชิปกราฟิก Intel HD รุ่นใหม่ภายในตัวซีพียู ทำงานร่วมกับชิปเซต Intel 6 Series รุ่นใหม่ซีพียูในรหัส Sandy Bridge นี้จะเปลี่ยนไปใช้ช็อกเก็ต LGA1155
เลขรุ่นของซีพียูตระกูล Core i3 ตามรหัส Sandy Bridge จะเป็นตัวเลข 4 ตัวโดยเริ่มต้นด้วยเลข 2 อันหมายถึงยุคที่ 2 ของซีพียูตระกูล Core i นอกจากนั้นยังเพิ่มอักษรต่อท้ายรุ่นซีพียูเพื่อบ่งบอกคุณสมบัติพิเศษของซีพียูรุ่นนั้นด้วย โดยอักษร K เป็นซีพียูที่ไม่ล็อคตัวคูณ, อักษร S สำหรับซีพียูประสิทธิภาพคุ้มค่าและประหยัดพลังงานเพียง 65 W สุดท้ายเป็นอักษร T คือประหยัดไฟพิเศษเพียง 35 W เท่านั้น

ซีพียูตระกูล Core i7


ซีพียูตระกูล Core i7 เป็นชื่อซีพียูรุ่นใหม่โดยมีโครงสร้างคล้าย AMD นั่นคือ การรวมวงจรควบคุมหน่วยความจำเข้าไว้ในตัวซีพียู การติดต่อหน่วยความจำจะกระทำภายใต้บัสแรมในตัวซีพียู ช่วยให้การทำงานระหว่างซีพียูกับแรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก ซีพียู Core i7 จะมีขนาดของแคช L1 เท่ากับ 32+32 KB เหมือนเดิม แต่ลดขนาดแคช L2 เหลือเพียง 256 KB ต่อ 1 แกน (Core) และเพิ่มแคช L3 แบบใช้งานร่วมกันขนาด 8 MB
ซีพียู Core i7 จะเป็นซีพียูแบบ Quad Core และ Hex Core พร้อมฟังก์ชัน Hyper-Threading ช่วยจำลองการประมวลผลได้พร้อมกัน 8-12 งาน วงจรควบคุมแรมทำงานแบบ Triple Channel DDR3 โดยซีพียู Core i7 จะมีทั้งแบบที่ใช้ช็อกเก็ต LGA1366 (1,366 ขา) ใช้เลขรุ่น 9xx และมีรุ่นช็อกเก็ต LGA1156 (รองรับแรมแค่ Dual Channel DDR3) เช่นเดียวกับซีพียู Core i5 โดยใช้เลขรุ่น 8xx
Intel เปิดตัวซีพียู Core i7 Extreme แบบ 6 แกนหรือ Hex Core มาใช้งานในระดับคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยมีแคช L3 แบบใช้งานร่วมกันขนาด 12 MB รองรับแรมแบบ Dual Channel DDR3 ทำงานกับเมนบอร์ดที่ใช้ช็อกเก็ต LGA1366 ชิปเซต Intel X58 เดิมได้ทันทีเพียงอัพเดตไบออส

ซีพียูตระกูล Core i5

ซีพียูตระกูล Core i5 ใช้โครงสร้างคล้ายกับ Core i7 คือ มีวงจรควบคุมแรมในตัวซีพียู พร้อมแคช L2 มีขนาด 256 KB ต่อ 1แกน (Core) และเพิ่มแคช L3 แบบใช้งานร่วมกันขนาด 4-8 MB เช่นกัน เพียงแต่ระบบบัสแรมจะรองรับเพียง Dual Channel DDR3
ภายในตัวซีพียู Core i5 จะมีวงจรเชื่อมต่อกับบัส PCI Express x16 ของการ์ดแสดงผล และเชื่อมต่อกับชิปเซต Intel P5x/Q5x ด้วยบัส DMI ตัวซีพียูใช้ช็อกเก็ต LGA1156 (1,156 ขา) รุ่นของ Core i5 แบ่งเป็น 2 รหัสคือ 6xx (รุ่น Dual Core และมีชิปกราฟิก Intel GMA HD) และ 7xx ซึ่งเป็นซีพียู Quad Core แต่ไม่มีชิปกราฟิก

ซีพียูตระกูล Core i3

ซีพียูตระกูล Core i3 เปิดตัวขึ้นเพื่อทดแทนซีพียูตระกูล Core 2 โดยใช้โครงสร้างเช่นเดียวกับ Core i5 คือเป็นซีพียู Dual Core ที่มีชิปกราฟิก Intel GMA HD ในตัวซีพียู ทำงานบนช็อกเก็ต LGA1156 รองรับแรม Dual Channel DDR3 พร้อมฟังก์ชัน Hyper-Threading ช่วยให้ประมวลผลได้คล้ายกับซีพียูแบบ Quad Core พร้อมแคช L3 ขนาด 4 MB เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซีพียูในราคาคุ้มค่าบนช็อกเก็ต LGA1156

ซีพียูตระกูล Core 2 Extreme

Core 2 Extreme เป็นซีพียูตามสถาปัตยกรรม Intel Core Architecture เช่นกัน เน้นกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด (Extreme) โดยไม่เกี่ยงเรื่องราคา โครงสร้างการทำงานจะเหมือนกับ Core 2 Quad ขนาดของแคช L2 มีขนาด 8 MB (2x 4 MB) จนถึง 12 MB (2x 6 MB) ความเร็วบัสมีให้เลือกทั้ง 1.33 MHz และ 1.60 MHz

ซีพียูตระกูล Core 2 Quad

ซีพียูตระกูล Core 2 Quad เปิดตัวต้นปี 2007 (พ.ศ.2550) โดยเป็นซีพียูแบบ Quad Core คือนำซีพียู Core 2 Duo จำนวน 2 ตัวมาต่อเพื่อให้ทำงานร่วมกัน (ไม่ใช่ซีพียู Quad Core แท้ๆ) ขนาดแคช L2 เริ่มต้นที่ 4 MB (แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 2 MB) จนถึงรุ่นสูงสุดที่ 12 MB (2x 6 MB) ซีพียู Core 2 Quad มีรุ่นความเร็วบัส 1.06 MHz จนถึง 1.60 MHz

ซีพียูตระกูล Core 2 Duo


ซีพียูตระกูล Core 2 Duo เป็นซีพียูตามสถาปัตยกรรม Intel Core Architecture โดยพัฒนามาจากซีพียู Core Duo ที่ใช้กับโน้ตบุ๊ค ซึ่งตัวเลข 2 สื่อถึงการเป็นรุ่นที่ 2 ของตระกูล Core ทาง Intel ได้นำแนวคิดของซีพียูโน้ตบุ๊คมาใช้ เพื่อลดการใช้พลังงานและลดความร้อนลง ส่งผลให้ Core 2 Duo มีความโดดเด่น   ซีพียูตระกูล Core 2 Duo ทำงานในแบบ Dual Core โดยมีขนาดแคช L2 ตั้งแต่ 2-6 MB ตามระดับเลขรุ่น ตลอดจนเป็นวีพียูที่มีความเร็วของบัสในระดับสูงตั้งแต่ 1.06 GHz ไปจนถึง 1.33 GHz รองรับชุดคำสั่งด้านมัลติมีเดียและฟังก์ชัน ViiV อย่างสมบูรณ์ในบางรุ่น

ซีพียูตระกูล Pentium Dual-Core

ซีพียู Pentium Dual-Core เป็นซีพียูในกลุ่มราคาประหยัดสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปเช่นเดียวกับตระกูล  Celeron แต่มีการเพิ่มขนาดของแคช L2 ให้เป็น 1 MB หากดูจากสเปคของ Pentium Dual-Core แล้ว Intel วางแผนให้ไปทดแทนกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการประสิทธิภาพในราคาย่อมเยา

ซีพียูตระกูล Celeron

ซีพียูตระกูล Celeron ถูกวางตำแหน่งให้เป็นซีพียูราคาประหยัดโดมีการลดขนาดของแคช L2 ให้เหลือเพียง 256-512 KB เท่านั้น ซีพียูตระกูล Celeron จะแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือ ซีพียู Celeron D หรือ Celeron รุ่นเดิมที่เป็นซีพียูแบบแกนเดียว (Single Core) และซีพียู Celeron Dual-Core ที่ใช้โครงสร้างแบบซีพียู Core 2 แน่นอนว่าซีพียู Celeron Dual-Core จะเป็นซีพียูที่ทำงานในแบบ Dual Core ที่ให้ประสิทธิภาพการประมวลผลสูงกว่าซีพียู Celeron D

AMD AM3

เมื่อ AMD เปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ที่ใช้งานร่วมกันกับแรม DDR3 ทาง AMD จึงออกแบบซ็อกเก็ต AM3 ขึ้นมาเพื่อรองรับลักษณะของซ็อกเก็ต AM3 มีจำนวน 941 ขา โดยตำแหน่งขาจะไม่เหมือนกับของ AM2/AM2+ แต่ทั้งนี้ AM3 ไม่ได้รองรับเพียงแค่แรม DDR3 เท่านั้น หากยังสามารถใช้งานกับเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต AM2/AM2+ ได้ด้วย จึงต้องระมัดระวังในการใช้งาน

AMD AM2/AM2+

ซ็อกเก็ต AM2 และ AM2+ ได้รับการออกแบบเพื่อใช้งานกับซีพียูตระกูล AMD Athlon 64 x2 และ AMD Phenom เพื่อใช้งานกับแรม DDR2 ลักษณะของซ๊อกเก็ต AM2/AM2+ จะเป็นรูจำนวนมากสำหรับขาเข็มของตัวซีพียู ตัวซ็อกเก็ต AM2 และ AM2+ จะมีลักษณะเหมือนกันคือมีจำนวน 940 ขา สิ่งที่แตกต่างจะอยู่ที่ตัวเมนบอร์ดซึ่งจะรองรับบัส HyperTransport ที่เร็วขึ้นในซ็อกเก็ต AM2+

สาเหตุการเกิด Bad sector

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า Bad Sector คืออะไร มีผลเสียอย่างไรทำเราถึงกลัวกัน
Bad Sector คือ พื้นที่การเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ที่เกิดความเสียหาย ไม่สามารถบันทึกและอ่านข้อมูลได้ในส่วนที่เกิดปัญหา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
  • Bad Sector ที่เกิดจากฮาร์ดแวร์ของฮาร์ดดิสก์โดยตรง
  • Bad Sector ที่เกิดจากปัญหาของซอฟแวร์ที่ใ้ชงานร่วมกัีบฮาร์ดดิสเกิดการทำงานที่ผิดพลา 


การเกิด Bad Sector มีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้
  • ไฟฟ้าดับกระทันหันในขณที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
  • ไฟฟ้ากระชากเนื่องจากเพาเวอร์ซัปพลายจ่ายแรงดัน และกระแสไฟฟ้าให้กับฮาร์ดดิสก์ไม่นิ่งหรือไม่คงที่
  • ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด
  • การต่อพ่วงภายในเครื่องคอมมีการเชื่อมต่อที่ผิดประเภทหรือผิดขั้วอาจทำให้เกิดการลัดวงจร
  • เกิดการกระแทก สะเทือน และตกหล่นของตัวฮาร์ดดิสก์ หรืออาจจะเกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง
  • เกิดจากความประมาทของตัวผู้ใช้เอง
เพิ่มเติม พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของเราขะถูกแบ่งเป็นเซกเตอร์ หรือเป็นส่วนๆซึ่งจะมีความน้อยใหญ่แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดเก็บ ข้อมูลของไฟล์ ซึ่งจะถูกกำหนดตอนสร้างพาร์ติชันบนฮาร์ดดิส

ข้อสังเกตเพื่อป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัย
  • ฮาร์ดดิสก์ทำงานเสียงดังในเวลาอ่านและเขียนข้อมูล
  • มีหน้าจอ Blue Screen ปรากฎขึ้นมาบ่อยครั้ง บางคนเรียก หน้าจอแห่งความตาย
  • บูตเข้าวินโดว์แล้วมีการแสกนฮาร์ดดิสก์ทุกครั้ง
  • ไม่พบฮาร์ดดิสก์ใน BIOS บ่อยครั้ง
      หากคอมพิวเตอร์ของคุณเกิดความผิดปกติในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ให้รีบตรวจสอบ หาข้อบกพร่องโดยด่วน ก่อนที่มันจะสายเกินเยียวยานะครับ

วิธีแก้ปัญหา NTLDR is missing บูตเข้าวินโดว์ไม่ได้


 Error : NTLDR is missing แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องมือของวินโดวส์ มีชื่อว่า Windows Recovery console ซึ่งขั้นตอนก็มีดังต่อไปนี้
  • ขั้นแรก เตรียมแผ่นติดตั้ง Windows XP สำหรับเข้าสู่โหมด Windows Recovery Console
  • ขั้นที่สอง เข้าสู่หน้า Bios โดยกดปุ่ม Delete หรือ F2 ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของ Bios และตั้งค่าให้บูตกับ Drive CD/DVD  เป็นไดรฟ์แรก. 
  • ขั้นตอนที่สาม  ขั้นตอนนี้เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการบูตเครื่องกับแผ่นซีดี เมื่อปรากฎข้อความว่า Press any key to boot from CD...ให้กดแป้นพิมพ์(จะกดปุ่มอะไรก็ได้) เพื่อเข้าสู่โหมด Windows Recovery Console
  • ขั้นตอนที่สี่ เมื่อปรากฎหน้า Windows XP Professional Setup ให้กดแป้น R เพื่อทำการซ่อมแซมไฟล์ระบบวินโดว์ที่เสียหาย
  • ขั้นตอนที่ห้า หน้า Windows Recovery Console จะโหลดขึ้นมา จากนั้นใส่เลข 1 แล้วกด Enter 
  • ขั้นตอนที่หก  ให้คุณก็อบปี้ไฟล์ ntldr และ ntldr.com จากแผ่นวินโดว์ไปยังไดรฟ์ C โดยใช้คำสั่งดังนี้       
                     C:\Windows>G กด Enter
                     G:\>cd i386 กด Enter
                     G:\I386>copy ntldr c:\ กด Enter
                     G:\I386>copy ntdetect.com c:\ กด Enter
                     G:\I386>C: กด Enter
                     C:\Windows>Fixboot กด Enter
           จากนั้นระบบจะให้คุณยืนยันการเขียน Boot sector ใหม่ให้กับพาร์ติชันให้ใส่ตัว Y เพื่อยืนยันแล้ว       กด Enter

  • ขี้นตอนที่เจ็ด เมื่อพาร์ติชันถูกเขียน Boot Sector โดยกาซ่อมไฟล์ Boot.ini แล้วให้เลือกคำสั่ง Exit เพื่อออกจากโหมด Windows Recovery Console จากนั้นคอมพิวเตอร์ของคุณก็จะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

สาเหตุ!! ที่อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แฮงค์และวินโดว์แสดงข้อความผิดพลาด


สาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ นั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ ซึ่งสาเหตุต่างๆ ก็มีดังต่อไปนี้

  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสมากเกินไป ซึ่งผลก็คือ กินทรัพยาการเยอะ หรือ เปลืองเนื้อที่
  • คอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัสและภัยคุกคามอื่นๆ เพาะมันจะดึงเอาศรัพยากรไปใช้งานให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงดังนั้นถ้าคอมพิวเตอร์คุณมีอาการแปลกๆ ควรรีบอับเดตโปรแกรมสแกนไวรัสโดยด่วน และต้องล่าสุดอยู่เสมอ และทำการสแกนไวรัสในโหลด Safe Mode
  • โปรแกรมและไดรเวอร์บางตัวมีปัญหา อาจเป็นที่เวอร์ชันของไดรเวอร์ เช่น เป็นตัวทดลองใช้หรือเก่ากว่ารุ่นปัจจุบัน ต้องหมั่นตรวจเช็คที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตเพื่อทำการอับเดต
  • รีจิสตรีมีปัญหาหรือรีจิสตรีขยะมากไป นี่ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เพราะรีจิสตรีเป็ฯส่วนหนึ่งในการเก็ฐค่า Setting ต่างๆ ของระบบ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาหรือบางส่วยเสียหายไปไม่มีการจัดเรียงข้อมูลก็อาจทำ ให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ไ้ด้
  • ฮาร์ดแวร์มีปัญหา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วินโดว์แฮงค์ อาจเกิดจากความสกปรกหรือชำรุดเสียหายทำให้การทำงานของวินโดว์ผิดพลาดและไม่ ตอบสนอง
ข้อสำคัญในการแก้ไขปัญหา
  • คุณควรแบ็คอัพข้อมูลไว้เสมอเพื่อป็องกันการสูญหายของข้อมูล

InteI LGA2011


InteI LGA2011
ช็อกเก็ต InteI LGA2011 ได้รับการออกแบบมาสำหรับซีพียู InteI Core i7 รุ่นใหม่ (อนาคตอาจมีถึง Core i9) โดยเป็นซีพียูแบบ Hex Core (6 หน่วยประมวลผล) หรือ Octa Core (8 หน่วยประมวลผล) ทำงานร่วมกับชิปเซต InteI X68 และติดตั้งแรม Quad ChanneI DDR3 ตัวช็อกเก็ต LGA2011 จะมีแผ่นพลาสติกปิดครอบไว้เพื่อป้องกันความเสียหายของขาเข็มเช่นกัน

InteI LGA1155


InteI LGA1155
ช็อกเก็ต  InteI LGA1155 ได้รับการออกแบบมาสำหรับซีพียู InteI Core i ตระกูลใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อจากซีพียูในช็อกเก็ต LGA1156 โดยเมนบอร์ดของช็อกเก็ต LGA1155 จะใช้ชิปเซตตระกูล InteI P6x/H6x ผู้ใช้ไม่สามารถติดตั้งซีพียูเดิมที่เป็น LGA1156 ลงบนช็อกเก็ต LGA1155 ได้ เนื่องจากตำแหน่งตัวล็อคและขาของซีพียูไม่ตรงกัน ตัวช็อกเก็ต LGA1155 จะมีแผ่นพลาสติกปิดไว้เพื่อป้องกันความเสียหายของขาเข็ม

InteI LGA1366


 InteI LGA1366
ช็อกเก็ต LGA1366 ได้รับการออกแบบมาสำหรับซีพียู InteI Core i7 โดยมีขาเข็มเล็กๆ จำนวน 1,366 ขาวางเรียงไขว้ 2 ฝั่ง การมีจำนวนขามากที่สุดเพราะต้องใช้ร่วมกับวงจรควบคุมแรมแบบ Triple Channel ในตัวซีพียู ช็อกเก็ต LGA1366 ก็มีแผ่นพลาสติกปิดไว้เมื่อไม่ใช้งานเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เิกิดความเสียหายกับขาเข็ม

InteI LGA1156


InteI LGA1156
ช็อกเก็ต LGA1156 มีลักษณะเช่นเดียวกับ LGA775 คือ เป็นขาเข็มขนาดเล็กจำนวน 1,156 ขาวางเรียงไขว้ 2 ฝั่ง ช็อกเก็ต LGA1156 ได้รับการออกแบบมาให้รองรับการทำงานร่วมกับซีพียู  InteI Core i3/i5/i7 การที่มีจำนวนขามากขึ้นเนื่องจากต้องเพิ่มขาสำหรับวงจรควบคุมแรมและบัส PCI Express x16 ในซีพียูตัวช็อกเก็ต LGA1156 จะมีแผ่นพลาสติกปิดไว้เสมอเมื่อไม่ใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เิกิดความเสียหายกับขาเข็ม

InteI LGA775

InteI LGA775 
ช็อกเก็ต LGA775 (LGA : Land Grid Array) เป็นช็อกเก็ตที่ได้รับความนิยม เนื่องจากใช้กับซีพียูรุ่นหลักของ InteI เช่น CeIeron, Pentum DuaI-Core และตระกูล Core 2 ทั้งหมด ลักษณะของช็อกเก็ต LGA775 จะเป็นขาเข็มขนาดเล็กยาวเพียง 2 มิลลิเมตร จำนวน 775 ขา โดยขาที่ยื่นออกมาจะสัมผัสกับตุ่มทองแดงที่ตัวซีพียู ปกติบนตัวช็อกเก็ตจะมีแผ่นพลาสติกปิดไว้เสมอเมื่อไม่ใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับขาเข็ม

ระบบบัสของซีพียู(CPU)

ระบบบัสของอุปกรณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ระบบบัสที่ผู้ใช้คุ้นเคยอย่างเช่น บัส PCI, บัส AGP และพัฒนาต่อมาจนเป็นบัส PCI Express และ PCI Express 2.0 ในปัจจุบัน ระบบบัสของซีพียูก็เช่นกัน เมื่อถึงจุดหนึ่งผู้ผลิตซีพียูอย่าง InteI และ AMD จึงพัฒนาบัสของซีพียูให้รองรับการทำงานที่เร็วขึ้นของซีพียูอย่างเหมาะสม  

ระบบบัส FSB

ระบบบัส FSB (Front Side Bus) เป็นบัสพื้นฐานของซีพียูที่ใช้งานกันมานาน ลักษณะของบัส FSB ตัวซีพียูจะเชื่อมต่อกับชิปเซต North Bridge ตามปกติ ความเร็วของบัส FSB จะขึ้นอยู่กับความกว้างของบัส (มีหน่วยเป็นบิต) และความถี่ของบัส (มีหน่วยเป็น MHz หรือ GHz) ระบบบัส FSB เริ่มต้นที่ความถี่ 33 MHz มีความกว้างบัส 32 บิตตั้งแต่สมัยซีพียู Pentium รุ่นแรก
ปัจจุบัน InteI ได้นำเทคโนโลยีของบัส FSB มาเพิ่มความเร็วและพัฒนาเป็นระบบบัส QDP (Quad Data Pump) ซึ่งสามารถดึงข้อมูลได้ครั้งละ 4 ชุดใน 1 Hz ดังนั้น บัส FSB พื้นฐานที่ 100 MHz จึงเทียบเท่าที่ 400 MHz ในซีพียู Pentium 4 รุ่นแรก ต่อมาก็เพิ่มความเร็วของบัส FSB จนถึงปัจจุบันที่มากกว่า 200 MHz ดังนั้น จึงมีความเร็วบัสเทียบเท่า 800 MHz (4x 200 MHz) สำหรับบัส 1,066 MHz (1.06 GHz) ก็จะหมายถึง 4x 266 MHz และบัส 1,333 MHz (1.33 GHz) จะหมายถึง 4x 333 MHz

ระบบบัส QuickPath

ระบบบัสที่พัฒนาขึ้นโดย InteI เพื่อใช้งานกับซีพียูตระกูล Core i7 และ Core i9 ซึ่งซีพียูทั้ง 2 ตระกูลจะมีวงจรควบคุมแรมในตัวซีพียู ดังนั้น การออกแบบระบบบัสจึงแตกต่างจากบัส FSB เดิมทั้งยังต้องมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รับ/ส่งกับวงจรควบคุมแรมในตัวซีพียู ทาง InteI จึงออกแบบระบบบัสใหม่ขึ้นมามีชื่อเรียกว่า InteI QuickPath Interconnect (QPI)
ระบบบัส QuickPath มีลักษณะคล้ายกับบัส HyperTransport คือ เชื่อมต่อกันในแบบ Point-to-Point ระบบบัส QuickPath มีความกว้างบัสขนาด 16 บิตที่ความถี่ระดับ 2.4 GHz และ 3.33 GHz (Core i7 Extreme) ส่งผลให้อัตราการรับ/ส่งข้อมูลอยู่ที่ 4.8 GT/s หรือ 19.2 GB/s ในซีพียู Core i7 ส่วนซีพียู Core i7 Extreme และ Core i9 มีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลสูงสุดถึง 6.4 GT/s หรือ 25.6 GB/s
เข้าใจบัส DMI ของซีพียู InteI Core i
บัส DMI (Direct Media Interface) ที่ใช้งานกับซีพียูของ InteI Core i (ยกเว้นซ็อกเก็ต LGA1366) นั้นไม่ใช่ระับบบัสใหม่ เพราะบัส DMI เดิมทาง InteI ได้ใช้เป็นบัสสำหรับเชื่อมต่อชิปเซต North Bridge กับ South Bridge เข้าด้วยกันโดยมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 2-4 GB/s ด้วยการออกแบบซีพียูตระกูล Core i ให้มีวงจรของบัส PCI Express x16 ในตัวจึงออกแบบการเชื่อมต่อกับชิปเซต InteI ให้เหมือนเป็นเพียงชิปเซต South Bridge และตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า PCH (PIatform ControIIer Hub)

ระบบบัส HyperTransport 
  
บัส HyperTransport (นิยมย่อว่า HTT) ของ AMD มีการออกแบบที่แตกต่างจากบัสแบบเดิมๆ การเชื่อมต่อของบัส HyperTransport มีลักษณะแบบ Point-to-Point คืออุปกรณ์แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันคล้ายกับการเสียบปลั๊กไฟ ดังนั้น ประสิทธิภาพของบัส HyperTransport จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าบัส Front Side Bus (FSB) เดิมที่นิยมใช้กัน
ปกติบัสของซีพียูจะมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่ 64 บิต แต่บัส HyperTransport สามารถปรับความกว้างของการรับส่ง/ส่งข้อมูลได้ 8, 16 หรือ 32 บิต ตามการออกแบบของผู้ใช้งาน บัส Hyper Transport ทำงานแบบสัญญาณขาขึ้น/ขาลงเหมือนแรม DDR และใช้หน่วยวัด MT/s (Million Transport per Second) บัส HyperTransport รุ่นแรกมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลสูงสุดที่ 2000 MT/s ล่าสุดกับบัส HyperTransport 3.0 มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 41.6 GB/s

เทคโนโลยีรุ่นใหม่ของ CPU ที่น่าสนใจ


ในด้านการออกแบบซีพียูที่สามารถเป็ฯแรงจูงใจให้ผู้ใช้รู้สึกถึงประสิทธิภาพที่สูงขึ้น นั่นหมายถึงซีพียูตัวนั้นจะได้รีบความนิยมจากผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ซีพียูยุคใหม่ยังคำนึงถึงเรื่องการใช้พลังงานและความร้อน โดยซีพียูรุ่มใหม่ๆจะมีวงจรที่สามารถปรับความเร็วตามการใช้งานจริงได้ เพื่อช่วยลดความร้อนและลดการใช้พลังงาน


เทคโนโลยีของทาง Intel และ AMD ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันแต่ชื่อต่างกันนะครับ

  • Intel(SSE),AMD(3DNow!) -ชุดคำสั่งประเภท SIMD(Single Instruction Multiple Data) คือคำสั่งที่ช่วยให้ประมวลผลข้อมูลได้จำนวนมาก ด้วยการใช้คำสั่งสำเร็จรูปเพียง 1 คำสั่ง
  • Intel(Hyper-Threading),AMD(ไม่มีเทคโนโลยีนี้) -ช่วยจำลองการประมวลผลของซีพียูแต่ละแกนให้สามารถทำงานได้ 2 เท่า
  • Intel(Turbo Boot),AMD(Turbo Core) -ซีพียูสามารถปรับค่าตัวคูณขึ้น 2-5 ระดับโดยอัตโนมัติ
  • Intel(Speed Step),AMD(Cool 'n' Quiet) -ช่วยให้ซีพียูสามารถปรับลดความเร็วและแรงดันไฟฟ้าได้ตามการทำงานจริงเพื่อลดความร้อนและประหยัดพลังงาน
  • Intel(XD Bit),AMD(NX Bit) -ช่วยป้องกันโปรแกรมแฝงจากการบุกรุกผ่านเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต
  • Intel(EM64T),AMD(AMD64) -การประมวลผลแบบ 64 บิตสำหรับคอมพิวเตอร์
  • Intel(ViiV),AMD(Live!) -ช่วยให้ซีพียูสามารถแบ่งการทำงานในการประมวลผลด้านมัลติมีเดียและวีดีโอไปพร้อมกับการทำงานด้านอื่น
  • Intel,AMD(Multi Core) -การเพิ่มแกนประมวลผล โดยมีลักษณะการทำงานแบบมัลติโพรเซสเซอร์    

ads by nuffnang